นางสาวบุหงา เสมจิตร์

นางสาวบุหงา   เสมจิตร์
นางสาวบุหงา เสมจิตร์ เลขที่ 18 หมู่ที่ 7 ป.บัณฑิตรุ่นที่ 13

สุขสันต์วันวาเลนไทน์

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มูฟวี่ แอพฯ ตั๋วหนังในมือคุณ

ลาวัณย์ ยืนนาน  ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป  ผู้นำไลฟ์ สไตล์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ กล่าวว่า 5-6 ปีก่อน เมเจอร์ฯพัฒนานวัตกรรมระบบจองตั๋วภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์  เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ชม โดยปัจจุบันมียอดจองออนไลน์ 5% ของยอดขายตั๋วรวม หรือกว่า 10 ล้านบาทต่อเดือน
ด้วยจำนวนผู้ใช้ สมาร์ทโฟนกว่า 2 ล้านเครื่องในปัจจุบัน และมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 15% ต่อปี  อีกทั้งผู้ใช้ 80-90% ยังมีโปรไฟล์เป็นกลุ่มคนเมืองอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองเป็นหลัก จัดว่าเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง  ที่สำคัญ เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกับลูกค้าที่ดูภาพยนตร์
ในยุคที่ก้าวสู่ “โมบาย มาร์เก็ตติ้ง”  การพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ  กลายเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปี 2554 ทำให้ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ต้องตามกระแสผู้ใช้ ด้วยการพัฒนาแอพฯ ใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใช้เวลากับสมาร์ทโฟน มากกว่าเครื่องมืออื่นๆ เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบายในการซื้อตั๋วหนังได้ทุกที่ ทุกเวลา เมเจอร์ฯ จึงพัฒนาแอพพลิเคชั่น “Major Movie” โดยเริ่มจาก iPhone ในช่วงกลางปี 2552  หลังเปิดตัวเพียงหนึ่งสัปดาห์ เป็นแอพฯ ที่ติดอันดับท็อปดาวน์โหลดของ app store ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2 แสนดาวน์โหลด
ล่าสุดเมเจอร์ มูฟวี่ พร้อมให้บริการในสมาร์ทโฟนยอดฮิตอย่าง แบล็คเบอร์รี (BB) และยังสามารถใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือแล้ว  ไม่ว่าจะเป็น  android และ symbian ของโนเกีย สามารถดาวน์โหลดได้ที่ m.majorcineplex.com
แอพฯ “เมเจอร์ มูฟวี่” ยังให้บริการเช็ครอบหนัง ดูหนังพรีวิว  จองและซื้อตั๋วหนังได้ทันทีในทุกที่ทุกเวลา และจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตวีซ่าและมาสเตอร์ โดยไม่ต้องยกหูโทรศัพท์จองตั๋วผ่านคอลล์เซ็นเตอร์ หรือเปิดคอมพิวเตอร์ คลิกจองตั๋วหนังผ่านเว็บไซต์เหมือนในอดีตอีกต่อไป เป็นการพัฒนานวัตกรรมจองตั๋วหนังให้มาอยู่ในมือผู้ชม  ด้วยบริการแบบ One Stop Service
ลาวัณย์ บอกว่าจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 26 ล้านคน มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนราว 2 ล้านคน จะเห็นว่าสัดส่วนต่างกันค่อนข้างมาก แต่ผู้ใช้สมาร์ทโฟน ถือเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาและกำลังซื้อสูง เป็น trend setter ที่น่าสนใจ ซึ่งเมเจอร์ฯ ได้ศึกษาและเฝ้าดูพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาบริการนวัตกรรมใหม่ สร้างความสะดวกสบายมารองรับกลุ่มคนเหล่านี้ และพบว่าหากเป็นบริการที่ตรงใจ ตอบโจทย์ กลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นเหมือน Speaker บอกต่อนวัตกรรมให้กลุ่ม trend setter ด้วยกันได้รับรู้ต่อ
“โลก โซเชียล เน็ตเวิร์ค ที่เชื่อมโยงผู้คนในเครือข่ายออนไลน์ การบอกต่อบริการนวัตกรรมใหม่ๆ จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเป็นข้อมูลที่ได้รับความเชื่อถือ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคพูดคุยกับผู้บริโภคกันเอง จะทำให้เมเจอร์ มูฟวี่ แอพฯ มีกระแสตอบรับที่ดี”
ในปี 2552  ที่เริ่มต้นพัฒนา เมเจอร์ มูฟวี่ แอพฯ บนไอโฟน  เทคโนโลยีและโลกออนไลน์เรียกว่ายังไม่มีลูกเล่นอะไรใหม่ๆ แต่ในปี 2553  เกิดกระแสตื่นตัวของ “โซเชียล เน็ตเวิร์ค” ดังนั้น ในปี 2554 จะมีการพัฒนาลูกเล่นแอพฯ ให้เชื่อมต่อกับโซเชียล เน็ตเวิร์ค เพื่อให้ผู้ใช้สามารถบอกต่อเกี่ยวกับเรื่องราวและภาพยนตร์ที่ชื่นชอบไปยัง กลุ่มเพื่อนๆ ในโซเชียล เน็ตเวิร์ค เพิ่มความสนุกกับการใช้แอพฯ ของเมเจอร์อีกขั้น
ปีหน้าเชื่อว่าราคาสมาร์ทโฟนจะถูกลง ราคาต่ำกว่า 1 หมื่นบาทให้เลือกซื้อหลากหลายรุ่น ขณะที่โอเปอเรเตอร์มือถือเองต้องการให้มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนมาก เพื่อขายแพ็คเกจการใช้งานอินเทอร์เน็ต ดังนั้น จะเห็นความร่วมมือระหว่างค่ายมือถือ คอนเทนท์ และโอเปอเรเตอร์ ในการพัฒนาแอพฯ มากขึ้น
การพัฒนาเทคโนโลยีมือถือในปัจจุบันที่มี ฟังก์ชันการทำงานเพิ่มขึ้น และการพัฒนาโครงข่าย 3 จีในอนาคต เชื่อว่าจะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในสัดส่วนเท่ากับคอมพิวเตอร์หรือ มากกว่า ภายใน 5 ปีนับจากนี้ จึงถือเป็นโอกาสในการขยายช่องทางการจำหน่ายตั๋วออนไลน์ ผ่านทั้งเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ ที่น่าจะเติบโตควบคู่กันไป
ลาวัณย์  เล่าว่า ล่าสุดเมเจอร์ฯ ยังให้บริการจองตั๋วภาพยนตร์ทางไอแพด โดยมีพนักงานเข้าไปรับออเดอร์กับลูกค้าในพื้นที่ต่างๆ ภายในสาขาโรงภาพยนตร์ รวมทั้งบริการพิเศษ ช่องทางการซื้อตั๋วชมภาพยนตร์ฟาสท์เลน ที่เครื่องจำหน่ายบัตรอัตโนมัติด้วยบัตรเครดิตชิพการ์ดของทุกสถาบันการเงิน นับเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในเมืองไทยที่มีระบบซื้อบัตรชมภาพยนตร์ด้วยตนเอง ผ่านบัตรเครดิต ใช้เวลาทำรายการเพียง 2 นาที และสามารถซื้อบัตรชมภาพยนตร์ล่วงหน้าได้เช่นเดียวกัน
“การพัฒนานวัต กรรมบริการต่างๆ เชื่อว่าเมื่อลูกค้าได้ทดลองใช้แล้ว จะมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ด้วยความสะดวก สบายและคุ้มค่า อีกทั้งยังช่วยตอกย้ำแบรนด์ อิมเมจ ของเมเจอร์ฯ ในฐานะผู้นำในธุรกิจนี้อีกด้วย”
อีกค่ายโรงภาพยนตร์อันดับสอง “เอสเอฟ” เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมการตลาดใหม่ๆ ในโลกออนไลน์เช่นกัน
สุ พัฒน์ งามวงศ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ จำกัด  กล่าวว่า ได้เปิดตัว “SF Showtimes in Hand” แอพพลิเคชั่น ความบันเทิงรูปแบบใหม่บนโทรศัพท์มือถือ ที่มอบความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูล เช็ครอบฉาย ชมภาพยนตร์ตัวอย่าง และโปรโมชั่นกิจกรรมต่างๆ ของโรงภาพยนตร์ในเครือ เอสเอฟ รวมทั้งการจองบัตรชมภาพยนตร์ โดยสามารถเลือกที่นั่งได้ทั้งโรง เหมือนมาซื้อตั๋วเองที่หน้าโรงภาพยนตร์ ผ่านแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนทุกรุ่น ทุกระบบ เป็นการก้าวสู่โรงภาพยนตร์ที่ให้บริการ Mobile Ticketing สมบูรณ์แบบ
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “SF Showtimes in Hand” ที่ m.sfcinemacity.com หรือที่ App Store สำหรับ iPhone และ Android Market
“การให้บริการที่ดีที่สุดกับลูกค้า คือ หัวใจสำคัญของธุรกิจของโรงภาพยนตร์ ซึ่งเอสเอฟ ได้พัฒนานวัตกรรมระบบการให้บริการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสะดวกในการจองตั๋วชมภาพยนตร์ให้อยู่ที่ปลายนิ้วมือ  การพัฒนาบริการและนวัตกรรมต่างๆ จะส่งผลที่ดีต่อภาพลักษณ์และเพิ่มจำนวนลูกค้าอีกด้วย”
ลาวัณย์ ยืนนาน  ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป  ผู้นำไลฟ์ สไตล์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ กล่าวว่า 5-6 ปีก่อน เมเจอร์ฯพัฒนานวัตกรรมระบบจองตั๋วภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์  เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ชม โดยปัจจุบันมียอดจองออนไลน์ 5% ของยอดขายตั๋วรวม หรือกว่า 10 ล้านบาทต่อเดือน
ด้วยจำนวนผู้ใช้ สมาร์ทโฟนกว่า 2 ล้านเครื่องในปัจจุบัน และมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 15% ต่อปี  อีกทั้งผู้ใช้ 80-90% ยังมีโปรไฟล์เป็นกลุ่มคนเมืองอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองเป็นหลัก จัดว่าเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง  ที่สำคัญ เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกับลูกค้าที่ดูภาพยนตร์
ในยุคที่ก้าวสู่ “โมบาย มาร์เก็ตติ้ง”  การพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ  กลายเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปี 2554 ทำให้ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ต้องตามกระแสผู้ใช้ ด้วยการพัฒนาแอพฯ ใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใช้เวลากับสมาร์ทโฟน มากกว่าเครื่องมืออื่นๆ เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบายในการซื้อตั๋วหนังได้ทุกที่ ทุกเวลา เมเจอร์ฯ จึงพัฒนาแอพพลิเคชั่น “Major Movie” โดยเริ่มจาก iPhone ในช่วงกลางปี 2552  หลังเปิดตัวเพียงหนึ่งสัปดาห์ เป็นแอพฯ ที่ติดอันดับท็อปดาวน์โหลดของ app store ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2 แสนดาวน์โหลด
ล่าสุดเมเจอร์ มูฟวี่ พร้อมให้บริการในสมาร์ทโฟนยอดฮิตอย่าง แบล็คเบอร์รี (BB) และยังสามารถใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือแล้ว  ไม่ว่าจะเป็น  android และ symbian ของโนเกีย สามารถดาวน์โหลดได้ที่ m.majorcineplex.com
แอพฯ “เมเจอร์ มูฟวี่” ยังให้บริการเช็ครอบหนัง ดูหนังพรีวิว  จองและซื้อตั๋วหนังได้ทันทีในทุกที่ทุกเวลา และจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตวีซ่าและมาสเตอร์ โดยไม่ต้องยกหูโทรศัพท์จองตั๋วผ่านคอลล์เซ็นเตอร์ หรือเปิดคอมพิวเตอร์ คลิกจองตั๋วหนังผ่านเว็บไซต์เหมือนในอดีตอีกต่อไป เป็นการพัฒนานวัตกรรมจองตั๋วหนังให้มาอยู่ในมือผู้ชม  ด้วยบริการแบบ One Stop Service
ลาวัณย์ บอกว่าจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 26 ล้านคน มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนราว 2 ล้านคน จะเห็นว่าสัดส่วนต่างกันค่อนข้างมาก แต่ผู้ใช้สมาร์ทโฟน ถือเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาและกำลังซื้อสูง เป็น trend setter ที่น่าสนใจ ซึ่งเมเจอร์ฯ ได้ศึกษาและเฝ้าดูพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาบริการนวัตกรรมใหม่ สร้างความสะดวกสบายมารองรับกลุ่มคนเหล่านี้ และพบว่าหากเป็นบริการที่ตรงใจ ตอบโจทย์ กลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นเหมือน Speaker บอกต่อนวัตกรรมให้กลุ่ม trend setter ด้วยกันได้รับรู้ต่อ
“โลก โซเชียล เน็ตเวิร์ค ที่เชื่อมโยงผู้คนในเครือข่ายออนไลน์ การบอกต่อบริการนวัตกรรมใหม่ๆ จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเป็นข้อมูลที่ได้รับความเชื่อถือ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคพูดคุยกับผู้บริโภคกันเอง จะทำให้เมเจอร์ มูฟวี่ แอพฯ มีกระแสตอบรับที่ดี”
ในปี 2552  ที่เริ่มต้นพัฒนา เมเจอร์ มูฟวี่ แอพฯ บนไอโฟน  เทคโนโลยีและโลกออนไลน์เรียกว่ายังไม่มีลูกเล่นอะไรใหม่ๆ แต่ในปี 2553  เกิดกระแสตื่นตัวของ “โซเชียล เน็ตเวิร์ค” ดังนั้น ในปี 2554 จะมีการพัฒนาลูกเล่นแอพฯ ให้เชื่อมต่อกับโซเชียล เน็ตเวิร์ค เพื่อให้ผู้ใช้สามารถบอกต่อเกี่ยวกับเรื่องราวและภาพยนตร์ที่ชื่นชอบไปยัง กลุ่มเพื่อนๆ ในโซเชียล เน็ตเวิร์ค เพิ่มความสนุกกับการใช้แอพฯ ของเมเจอร์อีกขั้น
ปีหน้าเชื่อว่าราคาสมาร์ทโฟนจะถูกลง ราคาต่ำกว่า 1 หมื่นบาทให้เลือกซื้อหลากหลายรุ่น ขณะที่โอเปอเรเตอร์มือถือเองต้องการให้มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนมาก เพื่อขายแพ็คเกจการใช้งานอินเทอร์เน็ต ดังนั้น จะเห็นความร่วมมือระหว่างค่ายมือถือ คอนเทนท์ และโอเปอเรเตอร์ ในการพัฒนาแอพฯ มากขึ้น
การพัฒนาเทคโนโลยีมือถือในปัจจุบันที่มี ฟังก์ชันการทำงานเพิ่มขึ้น และการพัฒนาโครงข่าย 3 จีในอนาคต เชื่อว่าจะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในสัดส่วนเท่ากับคอมพิวเตอร์หรือ มากกว่า ภายใน 5 ปีนับจากนี้ จึงถือเป็นโอกาสในการขยายช่องทางการจำหน่ายตั๋วออนไลน์ ผ่านทั้งเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ ที่น่าจะเติบโตควบคู่กันไป
ลาวัณย์  เล่าว่า ล่าสุดเมเจอร์ฯ ยังให้บริการจองตั๋วภาพยนตร์ทางไอแพด โดยมีพนักงานเข้าไปรับออเดอร์กับลูกค้าในพื้นที่ต่างๆ ภายในสาขาโรงภาพยนตร์ รวมทั้งบริการพิเศษ ช่องทางการซื้อตั๋วชมภาพยนตร์ฟาสท์เลน ที่เครื่องจำหน่ายบัตรอัตโนมัติด้วยบัตรเครดิตชิพการ์ดของทุกสถาบันการเงิน นับเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในเมืองไทยที่มีระบบซื้อบัตรชมภาพยนตร์ด้วยตนเอง ผ่านบัตรเครดิต ใช้เวลาทำรายการเพียง 2 นาที และสามารถซื้อบัตรชมภาพยนตร์ล่วงหน้าได้เช่นเดียวกัน
“การพัฒนานวัต กรรมบริการต่างๆ เชื่อว่าเมื่อลูกค้าได้ทดลองใช้แล้ว จะมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ด้วยความสะดวก สบายและคุ้มค่า อีกทั้งยังช่วยตอกย้ำแบรนด์ อิมเมจ ของเมเจอร์ฯ ในฐานะผู้นำในธุรกิจนี้อีกด้วย”
อีกค่ายโรงภาพยนตร์อันดับสอง “เอสเอฟ” เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมการตลาดใหม่ๆ ในโลกออนไลน์เช่นกัน
สุ พัฒน์ งามวงศ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ จำกัด  กล่าวว่า ได้เปิดตัว “SF Showtimes in Hand” แอพพลิเคชั่น ความบันเทิงรูปแบบใหม่บนโทรศัพท์มือถือ ที่มอบความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูล เช็ครอบฉาย ชมภาพยนตร์ตัวอย่าง และโปรโมชั่นกิจกรรมต่างๆ ของโรงภาพยนตร์ในเครือ เอสเอฟ รวมทั้งการจองบัตรชมภาพยนตร์ โดยสามารถเลือกที่นั่งได้ทั้งโรง เหมือนมาซื้อตั๋วเองที่หน้าโรงภาพยนตร์ ผ่านแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนทุกรุ่น ทุกระบบ เป็นการก้าวสู่โรงภาพยนตร์ที่ให้บริการ Mobile Ticketing สมบูรณ์แบบ
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “SF Showtimes in Hand” ที่ m.sfcinemacity.com หรือที่ App Store สำหรับ iPhone และ Android Market
“การให้บริการที่ดีที่สุดกับลูกค้า คือ หัวใจสำคัญของธุรกิจของโรงภาพยนตร์ ซึ่งเอสเอฟ ได้พัฒนานวัตกรรมระบบการให้บริการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสะดวกในการจองตั๋วชมภาพยนตร์ให้อยู่ที่ปลายนิ้วมือ  การพัฒนาบริการและนวัตกรรมต่างๆ จะส่งผลที่ดีต่อภาพลักษณ์และเพิ่มจำนวนลูกค้าอีกด้วย”

ออกแบบความคิด …คิดอย่างนักออกแบบ

มทส.ฉลอง 18 ปี เน้นนวัตกรรมต้นแบบ

รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานวิทยาศาสตร์
      
       “ถือเป็นโอกาสดีที่มหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่เหมือนอุทยานวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว อย่าง เช่น การอบรมพัฒนาบุคลากรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การทำแผนธุรกิจ หรือแม้แต่การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เพื่อลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ เรามีเครื่องมือในการทดสอบวิเคราะห์ที่ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถให้บริการสถานประกอบการที่ต้องการทดสอบวิเคราะห์ในด้านต่างๆ”
      
       รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เสริมว่า นอกจากนี้ยังมหาวิทยาลัยจะให้ความสำคัญกับผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว ยังได้สอดแทรกความเป็นไทยให้กับนักศึกษาภายในรั้วมหาวิทยาลัย
       "เราปลูกฝังให้นักศึกษามีพื้นฐานจิตใจที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งโดยการบรรจุเข้าไปในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป และการให้นักศึกษาทำเองในกิจกรรมนอกหลักสูตร เช่น การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ช่วยเหลือสังคมและชุมชน กิจกรรมกีฬาและนันทนาการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้”

แปลนทอยส์....นวัตกรรมของเล่นรักษ์โลก

สถาบันนวัตกรรมทีโอที

totinnovate-qr-011
Address and URL : สถาบันนวัตกรรม ทีโอที



สถาบัน นวัตกรรม ทีโอที เป็นหน่วยงานหลักในการวิจัย พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุน นวัตกรรมต่างๆ ของ ทีโอที และมี ห้องปฏิบัติการเพื่อการทดสอบคุณภาพวัสดุ คุณภาพโครงข่าย คุณภาพเครื่องมือและอุปกรณ์ ตลอดจนดูแลตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัดต่างๆ ด้วยประสบการณ์ยาวนานที่มีรากฐานจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย กับองค์การสหประชาติภายใต้โครงการ The United Nations Development Program. (UNDP) ตั่งแต่ปี พ.ศ. 2505
ภารกิจ ต่อนื่องของสถาบันนวัตกรรม ทีโอที นอกเหนือจากการผลักดันผลงานต่าง ๆ ของ ทีโอที ออกเป็นเชิงพานิชย์แล้ว ยังมีการสนับสนุนให้บริการโทรคมนาคมเพื่อสังคมอย่างทั่วถึงโดยไม่มองข้ามผู้ ด้อยโอกาสในสังคมผลงานที่สำคัญในปี 2552
1.    การบริการทดสอบคุณภาพคุณภาพวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโทรคมนาคม ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการที่สามารถวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ได้ การทดสอบของสถาบันนวัตกรรม ทีโอที ไม่เพียงแต่พิจารณาคุณสมบัติของวัสดุอุปกรณ์ ในขณะทดสอบ แต่คำนึงถึงคุณสมบัติที่น่าเชื่อถือได้นั้นจะคงคุณภาพไปอีกนาน ผลงานการบริการทดสอบคุณภาพมีดังนี้
•    การทดสอบแบบเร่งสภาวะแวดล้อมในการใช้งานเช่น การทดสอบในเครื่องพ่นละอองน้ำเกลือ (Salt Fog Chamber) เครื่องเร่งสภาพการตากแสงอาทิตย์และฝน (Weatherometer) เครื่องเร่งสภาวะอุณหภูมิ (Temperature and Humitdity Cycling Chamber) เป็นต้น
•    การทดสอบที่ต้องป้องกันการรบกวนจากเสียงและคลื่น เช่น คุณสมบัติทางด้าน Receiverของอุปกรณ์ Radio
•    การทดสอบด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานในเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ และอุแกรณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน เช่น การลามไฟของวัสดุ การแผ่รังสี และคุณสมบัติอื่น ๆ ตาม มอก. 1195 เป็นต้น
•    การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและทางกล ทางเคมีและวัสดุทางไฟฟ้า ทางอิเล็กทรอนิกส์ และทางโทรคมนาคม เช่น การทดสอบ Tensile & Elongation Strength การหาชนิดพลาสติก และโลหะ การทดสอบเกี่ยวกับการป้องกันการกัดกร่อน คุณสมบัติการต่อเชื่อมของอุปกรณ์ปลายทางกับโครงข่าย ทีโอที คุณสมบัติของระบบส่งสัญญาณ (Trans mission)

ผู้นำนวัตกรรมการศึกษา

การเรียนการสอน
ผู้นำนวัตกรรมการศึกษา

ผู้นำนวัตกรรมการศึกษา ความมุ่งมั่นตลอด 20 ปีของโรงเรียนอนุบาลมณีรัตน์ และความมุ่งมั่นจากผู้บริหาร ทำให้โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้เป็นทั้งโรงเรียนนำร่อง โรงเรียนแกนนำ และโรงเรียนต้นแบบ เพื่อนำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาใช้และประยุกต์ให้เข้ากับบริบทสังคมไทย และที่สำคัญเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศไทย
  • พ.ศ. 2542 – โรงเรียนนำร่องในโครงการวิจัยนวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิด “เรกจิโอ เอมิเลีย” โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2545 - โรงเรียนแกนนำในโครงการวิจัย “หลักสูตรสถานศึกษาและการพัฒนารูปแบบการคิด ในระดับการศึกษาปฐมวัย”
    โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ.2547 – โรงเรียนแกนนำในโครงการวิจัยเรื่อง
    “กระบวนการคิด” โดย สภาการศึกษา (สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2548 – โรงเรียนนำร่อง หัวข้อ “สมองกับการเรียนรู้”
    (Brain-Based Learning : BBL) กับสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
  • พ.ศ. 2550 - โรงเรียนอนุบาลมณีรัตน์ ได้ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ด้วยระดับดีมากในทุกมาตรฐานและตัวบ่งชี้
จากการนำแนวคิด การจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย การผสมผสานอย่างกลมกลืน โรงเรียนจึงได้รับการยกย่องให้เป็น ผู้นำทางการศึกษา มีสถาบันทางการศึกษามากมายรวมถึง มหาวิทยาลัย สถาบันราชภัฏต่างๆ ได้นำนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทมาศึกษา ดูงานจากโรงเรียนของเรา

  

การที่โรงเรียนได้รับการไว้วางใจจากหน่วยงานรัฐและเอกชน ให้เป็นแกนนำในนวัตกรรมการศึกษาต่างๆ นั้น ทำให้ในปัจจุบันโรงเรียน สามารถนำนวัตกรรมที่ทันสมัยการผสมผสานกับบริบท สังคมและวัฒนธรรมของไทยอย่างกลมกลืน โรงเรียนจึงได้รับการยกย่องให้เป็น “ผู้นำทางการศึกษา” เป็นที่ยอมรับ และเป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงานของนิสิต นักศึกษา สถาบันทางการศึกษา นักวิชาการและนักการศึกษาด้านการศึกษาปฐมวัย

หนังสือรับรองมาตราฐานอาหารปลอดภัย และผลจากการได้เป็นโรงเรียนนำร่อง ทำให้โรงเรียนได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและความสุขของเด็กและคุณครูที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน โรงเรียนจึงยึดหลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย เข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมชุมชน และความเป็นไทยเพื่อช่วยส่งเสริมศักยภาพและความสามารถในทุก ๆ ด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

องค์กรแห่งนวัตกรรม

สร้างคนสไตล์ 'มิตรผล' องค์กรแห่งนวัตกรรม

๐ กรณีศึกษาองค์กรไทย สร้างนวัตกรรมอย่างไร ? แม้ไม่ใช่ Dream Industry
      
๐ Innovation จะเกิดได้ไอเดียใหม่ๆ ยังไม่พอ ถ้าไม่มีเวทีให้ก็ไร้ความหมาย
      
๐ ทุ่มทุนสร้างคน ส่งเรียนต่อ สัมมนาต่างประเทศ เปิดเสรีความคิด ปัจจัยรักองค์กร
      
๐ คุ้มสุดๆ เมื่อผลงานที่ได้ สร้าง Value และลดต้นทุนมูลค่านับพันล้าน

      
ในการทำธุรกิจนั้นเรื่องการลงทุนด้านเทคโนโลยีพัฒนาองค์ความรู้ การทำวิจัย หรือ R&D ต่างๆเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า นำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่การที่จะทำสิ่งต่างๆ ข้างต้นได้นั้น จะไร้ประโยชน์ทันทีถ้า “คน” ของบริษัท ไม่ใช่ The Right Man ตามคำกล่าวที่ว่า Put The Right Man On The Right Job
       
core competency กับนิยามความสำเร็จ
       
           จากการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของคนก่อนพัฒนาสินค้า ทำให้ "บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด" เน้นหนักในเรื่องของการค้นหา พัฒนา และรักษาบุคลากรอันเป็นกำลังสำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ รวมถึงการสร้างเสริมศักยภาพให้บุคลากรมีความสามารถ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต
       
           ชุรี นาคทิพวรรณ ผู้จัดการอาวุโส สำนักงานผู้บริหาร กล่าวว่า "มิตรผล" ระบุคุณสมบัติที่พึงประสงค์ต่อองค์กร(core competency)ไว้ 6 ลักษณะด้วยกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สร้างความเป็นผู้นำให้กับพนักงานในองค์กร คือ 1.การมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ 2.ความใส่ใจในการบริการ 3.ความสามารถในการวิเคราะห์ 4.ความสามารถในการคิดในองค์รวม 5.ความสามารถด้านการคิดริเริ่มอย่างสร้างสรรค์ และ 6.การมุ่งมั่นพัฒนาตนเองและผู้อื่น
       
           นอกจากนี้หนทางสู่ความสำเร็จของพนักงานของ "มิตรผล" จะต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการหลัก คือ 1.can do คือต้องคิดอยู่เสมอว่าตัวเองทำได้ เพื่อไม่ตนเองท้อถอย 2.priority setting ต้องสามารถจัดลำดับความสำคัญเรื่องที่ต้องทำก่อน- หลังได้ 3.finding new way of the new thinking คือการค้นหาความคิดใหม่ๆในการทำงานอยู่เสมอ 4.challenge คือ สามารถทำสิ่งที่ท้าทายความสามารถตัวเองเสมอ
       
           สำหรับคำว่าประสบความสำเร็จในความหมายของ "ชุรี" แล้วไม่เพียงแค่ทำงานชิ้นหนึ่งเสร็จเพียงท่านั้น แต่งานที่ทำเสร็จ คือต้องมีความคิดใหม่ๆ ออกมา หรือเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างขึ้นมาได้นั้น ต้องกลับมาดูว่าสิ่งเหล่านั้นก่อให้เกิดคุณค่า(value)ในเชิงธุรกิหรือก่อให้เกิดความได้เปรียบในเชิงแข่งขันหรือไม่
       
           "มีไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นมาไม่พอ แต่จะต้องมี value มีกลยุทธ์ ต้องสามารถสร้างอนาคตให้กับมิตรผล ทำให้เราต้องมาขับเคลื่อนทางนวัตกรรม จะต้องทำอย่างไรให้คนที่คิดอะไรใหม่ๆเบิกบานใจ ภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองคิด สร้างผลงานให้คนอื่นได้รับรู้หรือยกย่อง เพราะฉะนั้นทางบริษัทได้จัดการประกวดนวัตกรรมสำหรับพนักงานขึ้นเป็นประจำทุกปีเปรียบเสมือนเวทีไว้สำหรับการประลองยุทธ์"
       
เวทีนวัตกรรม มูลค่าสร้างคน สร้างงาน
       
           เพื่อส่งเสริมให้องค์กรมีนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นแล้ว มิตรผลจึงได้จัดการประกวดนวัตกรรมของบริษัท (Mitr Phol Best Innovation Award) เป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 6 เป็นเวทีสำหรับผู้ที่มีความคิดใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นเวทีที่กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการสร้างผลงานออกมาของพนักงานภายในองค์กร
       
           โครงการการประกวดนวัตกรรมนั้น มีเพื่อวัตถุประสงค์คือกระตุ้นให้พนักงานมีความริเริ่มสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา สามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ทำให้ไม่จำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ในขณะที่ประสิทธิภาพในการทำงานต้องดีกว่าเดิม
       
           ซึ่งผลงานที่จะส่งเข้าประกวดได้ในแต่ละปี ไม่ใช่เพียงแค่คิดแล้วจะส่งเข้าประกวดได้เท่านั้น แต่ต้องผ่านการทดสอบด้วยการนำมาใช้จริงก่อนอย่างน้อย 6 เดือน- 1 ปี จึงจะสามารถส่งเข้าประกวดได้ โดยผลงานแต่ละชิ้นที่ผ่านการประกวดจะถูกนำมาใช้ในทำงานภายในบริษัทเท่านั้น ยังไม่เน้นสร้างออกมาในเชิงการพาณิชย์
       
           ขณะเดียวกันการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่เพียงแค่ลดต้นทุนได้เท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับ "มิตรผล" นอกเหนือจากรายได้จากการขายน้ำตาลเพียงอย่างเดียว อาทิเช่น การทำโรงไฟฟ้าชีวมวลจากชานอ้อย ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าส่งขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต คิดเป็นรายได้ปีหนึ่งมูลค่านับพันล้าน หรือการนำชานอ้อยที่เหลือจากการผลิตน้ำตาลมาผลิตเป็นไม้เคลือบเมลามีน ผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้ ขายให้กับบริษัททำเฟอร์นิเจอร์
       
           นอกจากนั้นพนักงานของมิตรผลยังสามารถนำของเสียที่เกิดจากการผลิต แปรเปลี่ยนให้เกิดเป็นมูลค่า จึงทำให้ปัจจุบันบริษัทมีของเสียจากการผลิตเป็นศูนย์(Zero Waste) เช่น ขี้เถ้าของชานอ้อยและตะกอนจากบ่อบำบัดน้ำทิ้ง ซึ่งเดิมทีต้องใช้งบประมาณในการกำจัดของเสียในส่วนนี้ไม่ต่ำกว่าปีละ 5 ล้านบาท แต่พนักงานได้นำขี้เถ้าและตะกอนมาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตอิฐบล็อกแทนการใช้ดินเหนียว ส่งผลให้อิฐบล็อกที่ได้มีน้ำหนักเบากว่าอิฐปกติ 50% ในขณะที่ต้นทุนถูกว่าการซื้ออิฐครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งในขณะนี้อยู่ในช่วงทดสอบถึงคุณภาพด้านอื่นๆเพื่อพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้ได้จริง
       
ทุ่มงบสร้างบุคลากร เรียนรู้รอบด้าน
       
           ทั้งนี้เบื้องหลังของการสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นเพราะ “มิตรผล” ตระหนักดีว่า "บุคลากร" คือปัจจัยสำคัญที่สร้างความแตกต่าง ความสำเร็จ หรือความล้มเหลวให้กับองค์กร จึงมุ่งเน้นในเรื่อง การค้นหา พัฒนา ส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การทำงานมีรูปแบบเป็นลักษณะของการดึงเอาศักยภาพที่ดีที่สุดของบุคลากรออกมา
       
           มุ่งเน้นในเรื่องการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดเห็นได้ทุระดับทุกแผนก และรักษาบุคลากรอันเป็นกำลังสำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ รวมถึงการสร้างเสริมศักยภาพให้บุคลากรสามารถ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคต
       
           มิตรผลเองจึงมีแนวทางการพัฒนาคนด้วยการใช้วิธีการที่หลากหลาย แต่ยังคงเน้นหนักไปที่เรื่องการฝึกอบรมในหลักสูตรระยะสั้นเพื่อให้ทั่วถึงกับพนักงานทุกคน โดยมีกำหนดขั้นต่ำว่าพนักงานทุกคนจะต้องเข้าอบรม 20 ชั่วโมงต่อปี ไม่ว่าพนักงานนั้นจะอยู่ฝ่ายไร่ ฝ่ายการผลิตหรือฝ่าย back office ซึ่งหลักสูตรก็จะเหมาะสมกับลักษณะงานที่แต่ละคนทำอยู่
       
           นอกจากนั้นหากมีการสัมมนาเรื่องใดที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจและสำคัญต่อการพัฒนาคนของบริษัท มิตรผล ก็จะส่งพนักงานเข้าร่วมอยู่เสมอ โดยเฉพาะการสัมมนาระดับโลก ซึ่งทุกๆ 3 ปี บริษัทจะส่งพนักงานเข้าร่วมการประชุมน้ำตาลโลก ISSCT (International Society of Sugar Cane Technologis Congress) ซึ่งปีนี้จัดที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยปีหนึ่งจะส่งคนไปไม่ต่ำกว่า 10 คน
       
           ซึ่งพนักงานที่ไปประชุมในระดับโลกจะต้องกลับมาแชร์ความรู้ที่ได้รับจากงานให้กับเพื่อนๆพนักงานด้วยกันอีกหลายพันคน เพื่อกระจายความรู้ด้านนวัตกรรมให้รับรู้อย่างทั่วถึงภายในองค์กร ว่าในขณะนี้อุตสาหกรรมน้ำตาลของโลกเขาอยู่ในระดับไหน มีนวัตกรรมอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นบ้าง
       
           ยิ่งไปกว่านั้น ชุรี ยังได้คิดหาวิธีในการกระตุ้นให้พนักงานมีความคิดในเชิงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอด้วยวิธีอบรมแบบ Day to Day ด้วยการสื่อสารผ่านตัวการ์ตูนฮีโร่ที่เธอคิดขึ้นมาเอง 6 ตัว 6 คาร์แร็กเตอร์ ซึ่งฮีโร่แต่ละตัวจะเป็นตัวแทนของ core competency ในแต่ละข้อ ตัวอย่างเช่น Winnie เป็นตัวแทนของการมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ หรือ smilie ซึ่งเป็นตัวแทนของความใส่ใจในการบริการ
       
           ซึ่งวิธีการทำการ์ตูนฮีโร่ขึ้นมานั้นเกิดจากที่เธอเห็นถึงจุดอ่อนของการเทรนนิ่งในชั้นเรียนที่ส่วนใหญ่แล้วเมื่อออกมาจากห้องเรียนแล้ว ความรู้ที่ได้รับจะเหลือเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ยิ่งนานไปก็เลือนหาย แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นการ์ตูนเนื้อหาสั้นๆ ไม่เกิน 2-3 นาที พนักงานสามารถทบทวนความรู้ได้ทุกเวลาเมื่อว่างจากการทำงาน เพียงแค่คลิกเข้ามาที่คอมพิวเตอร์เท่านั้น
       
           นวัตกรรมต่างๆจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากองค์กรไม่มีการส่งเสริมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่มิตรผลมีระบบที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมอย่างเต็มที่ กล่าวคือ ถ้าพนักงานคนใดต้องการทดลองสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา บริษัทก็จะสนับสนุนห้องแล็ป สนับสนุนงบประมาณในการทดลอง บางคนหากต้องการพัฒนาในเชิงลึกอย่างจริงจังก็จะส่งไปเรียนต่อเพื่อทำวิจัยกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ในอนาคตบริษัทจะเตรียมที่จ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงานโดยตรงเพื่อให้พนักงานสามารถเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้อย่างแข็งแกร่งมาก
       
           นอกจากการส่งเสริมพนักงานด้านนวัตกรรมแล้ว มิตรผลยังส่งเสริมสร้างรายได้ให้กับแม่บ้านของพนักงาน อาทิเช่น การแบ่งพื้นที่ให้ปลูกผักเพื่อนำไปขาย การนำนวัตกรรมที่พนักงานคิดค้นมาทำเป็นธุรกิจของชุมชนเพื่อส่งเสริมให้เกิดรายได้เสริมกับครอบครัวของพนักงาน จากนโยบายต่างๆที่สนับสนุนพนักงาน รวมทั้งระบบการประเมินผลงานของพนักงานที่เป็นธรรมด้วยการประเมินจากเจ้านายหลายคน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่พนักงานหลายคนจะมีอายุการทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
       
           องค์กรมิตรผลจึงน่าจะเป็นตัวอย่างให้กับธุรกิจการเกษตร หรือแม้แต่ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆที่จะนำแนวทางในพัฒนาศักยภาพของคนเพื่อการขับเคลื่อนองค์กร