นางสาวบุหงา เสมจิตร์

นางสาวบุหงา   เสมจิตร์
นางสาวบุหงา เสมจิตร์ เลขที่ 18 หมู่ที่ 7 ป.บัณฑิตรุ่นที่ 13

สุขสันต์วันวาเลนไทน์

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มูฟวี่ แอพฯ ตั๋วหนังในมือคุณ

ลาวัณย์ ยืนนาน  ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป  ผู้นำไลฟ์ สไตล์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ กล่าวว่า 5-6 ปีก่อน เมเจอร์ฯพัฒนานวัตกรรมระบบจองตั๋วภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์  เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ชม โดยปัจจุบันมียอดจองออนไลน์ 5% ของยอดขายตั๋วรวม หรือกว่า 10 ล้านบาทต่อเดือน
ด้วยจำนวนผู้ใช้ สมาร์ทโฟนกว่า 2 ล้านเครื่องในปัจจุบัน และมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 15% ต่อปี  อีกทั้งผู้ใช้ 80-90% ยังมีโปรไฟล์เป็นกลุ่มคนเมืองอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองเป็นหลัก จัดว่าเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง  ที่สำคัญ เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกับลูกค้าที่ดูภาพยนตร์
ในยุคที่ก้าวสู่ “โมบาย มาร์เก็ตติ้ง”  การพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ  กลายเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปี 2554 ทำให้ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ต้องตามกระแสผู้ใช้ ด้วยการพัฒนาแอพฯ ใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใช้เวลากับสมาร์ทโฟน มากกว่าเครื่องมืออื่นๆ เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบายในการซื้อตั๋วหนังได้ทุกที่ ทุกเวลา เมเจอร์ฯ จึงพัฒนาแอพพลิเคชั่น “Major Movie” โดยเริ่มจาก iPhone ในช่วงกลางปี 2552  หลังเปิดตัวเพียงหนึ่งสัปดาห์ เป็นแอพฯ ที่ติดอันดับท็อปดาวน์โหลดของ app store ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2 แสนดาวน์โหลด
ล่าสุดเมเจอร์ มูฟวี่ พร้อมให้บริการในสมาร์ทโฟนยอดฮิตอย่าง แบล็คเบอร์รี (BB) และยังสามารถใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือแล้ว  ไม่ว่าจะเป็น  android และ symbian ของโนเกีย สามารถดาวน์โหลดได้ที่ m.majorcineplex.com
แอพฯ “เมเจอร์ มูฟวี่” ยังให้บริการเช็ครอบหนัง ดูหนังพรีวิว  จองและซื้อตั๋วหนังได้ทันทีในทุกที่ทุกเวลา และจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตวีซ่าและมาสเตอร์ โดยไม่ต้องยกหูโทรศัพท์จองตั๋วผ่านคอลล์เซ็นเตอร์ หรือเปิดคอมพิวเตอร์ คลิกจองตั๋วหนังผ่านเว็บไซต์เหมือนในอดีตอีกต่อไป เป็นการพัฒนานวัตกรรมจองตั๋วหนังให้มาอยู่ในมือผู้ชม  ด้วยบริการแบบ One Stop Service
ลาวัณย์ บอกว่าจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 26 ล้านคน มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนราว 2 ล้านคน จะเห็นว่าสัดส่วนต่างกันค่อนข้างมาก แต่ผู้ใช้สมาร์ทโฟน ถือเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาและกำลังซื้อสูง เป็น trend setter ที่น่าสนใจ ซึ่งเมเจอร์ฯ ได้ศึกษาและเฝ้าดูพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาบริการนวัตกรรมใหม่ สร้างความสะดวกสบายมารองรับกลุ่มคนเหล่านี้ และพบว่าหากเป็นบริการที่ตรงใจ ตอบโจทย์ กลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นเหมือน Speaker บอกต่อนวัตกรรมให้กลุ่ม trend setter ด้วยกันได้รับรู้ต่อ
“โลก โซเชียล เน็ตเวิร์ค ที่เชื่อมโยงผู้คนในเครือข่ายออนไลน์ การบอกต่อบริการนวัตกรรมใหม่ๆ จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเป็นข้อมูลที่ได้รับความเชื่อถือ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคพูดคุยกับผู้บริโภคกันเอง จะทำให้เมเจอร์ มูฟวี่ แอพฯ มีกระแสตอบรับที่ดี”
ในปี 2552  ที่เริ่มต้นพัฒนา เมเจอร์ มูฟวี่ แอพฯ บนไอโฟน  เทคโนโลยีและโลกออนไลน์เรียกว่ายังไม่มีลูกเล่นอะไรใหม่ๆ แต่ในปี 2553  เกิดกระแสตื่นตัวของ “โซเชียล เน็ตเวิร์ค” ดังนั้น ในปี 2554 จะมีการพัฒนาลูกเล่นแอพฯ ให้เชื่อมต่อกับโซเชียล เน็ตเวิร์ค เพื่อให้ผู้ใช้สามารถบอกต่อเกี่ยวกับเรื่องราวและภาพยนตร์ที่ชื่นชอบไปยัง กลุ่มเพื่อนๆ ในโซเชียล เน็ตเวิร์ค เพิ่มความสนุกกับการใช้แอพฯ ของเมเจอร์อีกขั้น
ปีหน้าเชื่อว่าราคาสมาร์ทโฟนจะถูกลง ราคาต่ำกว่า 1 หมื่นบาทให้เลือกซื้อหลากหลายรุ่น ขณะที่โอเปอเรเตอร์มือถือเองต้องการให้มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนมาก เพื่อขายแพ็คเกจการใช้งานอินเทอร์เน็ต ดังนั้น จะเห็นความร่วมมือระหว่างค่ายมือถือ คอนเทนท์ และโอเปอเรเตอร์ ในการพัฒนาแอพฯ มากขึ้น
การพัฒนาเทคโนโลยีมือถือในปัจจุบันที่มี ฟังก์ชันการทำงานเพิ่มขึ้น และการพัฒนาโครงข่าย 3 จีในอนาคต เชื่อว่าจะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในสัดส่วนเท่ากับคอมพิวเตอร์หรือ มากกว่า ภายใน 5 ปีนับจากนี้ จึงถือเป็นโอกาสในการขยายช่องทางการจำหน่ายตั๋วออนไลน์ ผ่านทั้งเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ ที่น่าจะเติบโตควบคู่กันไป
ลาวัณย์  เล่าว่า ล่าสุดเมเจอร์ฯ ยังให้บริการจองตั๋วภาพยนตร์ทางไอแพด โดยมีพนักงานเข้าไปรับออเดอร์กับลูกค้าในพื้นที่ต่างๆ ภายในสาขาโรงภาพยนตร์ รวมทั้งบริการพิเศษ ช่องทางการซื้อตั๋วชมภาพยนตร์ฟาสท์เลน ที่เครื่องจำหน่ายบัตรอัตโนมัติด้วยบัตรเครดิตชิพการ์ดของทุกสถาบันการเงิน นับเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในเมืองไทยที่มีระบบซื้อบัตรชมภาพยนตร์ด้วยตนเอง ผ่านบัตรเครดิต ใช้เวลาทำรายการเพียง 2 นาที และสามารถซื้อบัตรชมภาพยนตร์ล่วงหน้าได้เช่นเดียวกัน
“การพัฒนานวัต กรรมบริการต่างๆ เชื่อว่าเมื่อลูกค้าได้ทดลองใช้แล้ว จะมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ด้วยความสะดวก สบายและคุ้มค่า อีกทั้งยังช่วยตอกย้ำแบรนด์ อิมเมจ ของเมเจอร์ฯ ในฐานะผู้นำในธุรกิจนี้อีกด้วย”
อีกค่ายโรงภาพยนตร์อันดับสอง “เอสเอฟ” เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมการตลาดใหม่ๆ ในโลกออนไลน์เช่นกัน
สุ พัฒน์ งามวงศ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ จำกัด  กล่าวว่า ได้เปิดตัว “SF Showtimes in Hand” แอพพลิเคชั่น ความบันเทิงรูปแบบใหม่บนโทรศัพท์มือถือ ที่มอบความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูล เช็ครอบฉาย ชมภาพยนตร์ตัวอย่าง และโปรโมชั่นกิจกรรมต่างๆ ของโรงภาพยนตร์ในเครือ เอสเอฟ รวมทั้งการจองบัตรชมภาพยนตร์ โดยสามารถเลือกที่นั่งได้ทั้งโรง เหมือนมาซื้อตั๋วเองที่หน้าโรงภาพยนตร์ ผ่านแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนทุกรุ่น ทุกระบบ เป็นการก้าวสู่โรงภาพยนตร์ที่ให้บริการ Mobile Ticketing สมบูรณ์แบบ
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “SF Showtimes in Hand” ที่ m.sfcinemacity.com หรือที่ App Store สำหรับ iPhone และ Android Market
“การให้บริการที่ดีที่สุดกับลูกค้า คือ หัวใจสำคัญของธุรกิจของโรงภาพยนตร์ ซึ่งเอสเอฟ ได้พัฒนานวัตกรรมระบบการให้บริการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสะดวกในการจองตั๋วชมภาพยนตร์ให้อยู่ที่ปลายนิ้วมือ  การพัฒนาบริการและนวัตกรรมต่างๆ จะส่งผลที่ดีต่อภาพลักษณ์และเพิ่มจำนวนลูกค้าอีกด้วย”
ลาวัณย์ ยืนนาน  ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป  ผู้นำไลฟ์ สไตล์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ กล่าวว่า 5-6 ปีก่อน เมเจอร์ฯพัฒนานวัตกรรมระบบจองตั๋วภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์  เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ชม โดยปัจจุบันมียอดจองออนไลน์ 5% ของยอดขายตั๋วรวม หรือกว่า 10 ล้านบาทต่อเดือน
ด้วยจำนวนผู้ใช้ สมาร์ทโฟนกว่า 2 ล้านเครื่องในปัจจุบัน และมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 15% ต่อปี  อีกทั้งผู้ใช้ 80-90% ยังมีโปรไฟล์เป็นกลุ่มคนเมืองอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองเป็นหลัก จัดว่าเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง  ที่สำคัญ เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกับลูกค้าที่ดูภาพยนตร์
ในยุคที่ก้าวสู่ “โมบาย มาร์เก็ตติ้ง”  การพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ  กลายเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปี 2554 ทำให้ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ต้องตามกระแสผู้ใช้ ด้วยการพัฒนาแอพฯ ใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใช้เวลากับสมาร์ทโฟน มากกว่าเครื่องมืออื่นๆ เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบายในการซื้อตั๋วหนังได้ทุกที่ ทุกเวลา เมเจอร์ฯ จึงพัฒนาแอพพลิเคชั่น “Major Movie” โดยเริ่มจาก iPhone ในช่วงกลางปี 2552  หลังเปิดตัวเพียงหนึ่งสัปดาห์ เป็นแอพฯ ที่ติดอันดับท็อปดาวน์โหลดของ app store ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2 แสนดาวน์โหลด
ล่าสุดเมเจอร์ มูฟวี่ พร้อมให้บริการในสมาร์ทโฟนยอดฮิตอย่าง แบล็คเบอร์รี (BB) และยังสามารถใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือแล้ว  ไม่ว่าจะเป็น  android และ symbian ของโนเกีย สามารถดาวน์โหลดได้ที่ m.majorcineplex.com
แอพฯ “เมเจอร์ มูฟวี่” ยังให้บริการเช็ครอบหนัง ดูหนังพรีวิว  จองและซื้อตั๋วหนังได้ทันทีในทุกที่ทุกเวลา และจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตวีซ่าและมาสเตอร์ โดยไม่ต้องยกหูโทรศัพท์จองตั๋วผ่านคอลล์เซ็นเตอร์ หรือเปิดคอมพิวเตอร์ คลิกจองตั๋วหนังผ่านเว็บไซต์เหมือนในอดีตอีกต่อไป เป็นการพัฒนานวัตกรรมจองตั๋วหนังให้มาอยู่ในมือผู้ชม  ด้วยบริการแบบ One Stop Service
ลาวัณย์ บอกว่าจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 26 ล้านคน มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนราว 2 ล้านคน จะเห็นว่าสัดส่วนต่างกันค่อนข้างมาก แต่ผู้ใช้สมาร์ทโฟน ถือเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาและกำลังซื้อสูง เป็น trend setter ที่น่าสนใจ ซึ่งเมเจอร์ฯ ได้ศึกษาและเฝ้าดูพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาบริการนวัตกรรมใหม่ สร้างความสะดวกสบายมารองรับกลุ่มคนเหล่านี้ และพบว่าหากเป็นบริการที่ตรงใจ ตอบโจทย์ กลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นเหมือน Speaker บอกต่อนวัตกรรมให้กลุ่ม trend setter ด้วยกันได้รับรู้ต่อ
“โลก โซเชียล เน็ตเวิร์ค ที่เชื่อมโยงผู้คนในเครือข่ายออนไลน์ การบอกต่อบริการนวัตกรรมใหม่ๆ จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเป็นข้อมูลที่ได้รับความเชื่อถือ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคพูดคุยกับผู้บริโภคกันเอง จะทำให้เมเจอร์ มูฟวี่ แอพฯ มีกระแสตอบรับที่ดี”
ในปี 2552  ที่เริ่มต้นพัฒนา เมเจอร์ มูฟวี่ แอพฯ บนไอโฟน  เทคโนโลยีและโลกออนไลน์เรียกว่ายังไม่มีลูกเล่นอะไรใหม่ๆ แต่ในปี 2553  เกิดกระแสตื่นตัวของ “โซเชียล เน็ตเวิร์ค” ดังนั้น ในปี 2554 จะมีการพัฒนาลูกเล่นแอพฯ ให้เชื่อมต่อกับโซเชียล เน็ตเวิร์ค เพื่อให้ผู้ใช้สามารถบอกต่อเกี่ยวกับเรื่องราวและภาพยนตร์ที่ชื่นชอบไปยัง กลุ่มเพื่อนๆ ในโซเชียล เน็ตเวิร์ค เพิ่มความสนุกกับการใช้แอพฯ ของเมเจอร์อีกขั้น
ปีหน้าเชื่อว่าราคาสมาร์ทโฟนจะถูกลง ราคาต่ำกว่า 1 หมื่นบาทให้เลือกซื้อหลากหลายรุ่น ขณะที่โอเปอเรเตอร์มือถือเองต้องการให้มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนมาก เพื่อขายแพ็คเกจการใช้งานอินเทอร์เน็ต ดังนั้น จะเห็นความร่วมมือระหว่างค่ายมือถือ คอนเทนท์ และโอเปอเรเตอร์ ในการพัฒนาแอพฯ มากขึ้น
การพัฒนาเทคโนโลยีมือถือในปัจจุบันที่มี ฟังก์ชันการทำงานเพิ่มขึ้น และการพัฒนาโครงข่าย 3 จีในอนาคต เชื่อว่าจะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในสัดส่วนเท่ากับคอมพิวเตอร์หรือ มากกว่า ภายใน 5 ปีนับจากนี้ จึงถือเป็นโอกาสในการขยายช่องทางการจำหน่ายตั๋วออนไลน์ ผ่านทั้งเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ ที่น่าจะเติบโตควบคู่กันไป
ลาวัณย์  เล่าว่า ล่าสุดเมเจอร์ฯ ยังให้บริการจองตั๋วภาพยนตร์ทางไอแพด โดยมีพนักงานเข้าไปรับออเดอร์กับลูกค้าในพื้นที่ต่างๆ ภายในสาขาโรงภาพยนตร์ รวมทั้งบริการพิเศษ ช่องทางการซื้อตั๋วชมภาพยนตร์ฟาสท์เลน ที่เครื่องจำหน่ายบัตรอัตโนมัติด้วยบัตรเครดิตชิพการ์ดของทุกสถาบันการเงิน นับเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในเมืองไทยที่มีระบบซื้อบัตรชมภาพยนตร์ด้วยตนเอง ผ่านบัตรเครดิต ใช้เวลาทำรายการเพียง 2 นาที และสามารถซื้อบัตรชมภาพยนตร์ล่วงหน้าได้เช่นเดียวกัน
“การพัฒนานวัต กรรมบริการต่างๆ เชื่อว่าเมื่อลูกค้าได้ทดลองใช้แล้ว จะมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ด้วยความสะดวก สบายและคุ้มค่า อีกทั้งยังช่วยตอกย้ำแบรนด์ อิมเมจ ของเมเจอร์ฯ ในฐานะผู้นำในธุรกิจนี้อีกด้วย”
อีกค่ายโรงภาพยนตร์อันดับสอง “เอสเอฟ” เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมการตลาดใหม่ๆ ในโลกออนไลน์เช่นกัน
สุ พัฒน์ งามวงศ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ จำกัด  กล่าวว่า ได้เปิดตัว “SF Showtimes in Hand” แอพพลิเคชั่น ความบันเทิงรูปแบบใหม่บนโทรศัพท์มือถือ ที่มอบความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูล เช็ครอบฉาย ชมภาพยนตร์ตัวอย่าง และโปรโมชั่นกิจกรรมต่างๆ ของโรงภาพยนตร์ในเครือ เอสเอฟ รวมทั้งการจองบัตรชมภาพยนตร์ โดยสามารถเลือกที่นั่งได้ทั้งโรง เหมือนมาซื้อตั๋วเองที่หน้าโรงภาพยนตร์ ผ่านแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนทุกรุ่น ทุกระบบ เป็นการก้าวสู่โรงภาพยนตร์ที่ให้บริการ Mobile Ticketing สมบูรณ์แบบ
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “SF Showtimes in Hand” ที่ m.sfcinemacity.com หรือที่ App Store สำหรับ iPhone และ Android Market
“การให้บริการที่ดีที่สุดกับลูกค้า คือ หัวใจสำคัญของธุรกิจของโรงภาพยนตร์ ซึ่งเอสเอฟ ได้พัฒนานวัตกรรมระบบการให้บริการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสะดวกในการจองตั๋วชมภาพยนตร์ให้อยู่ที่ปลายนิ้วมือ  การพัฒนาบริการและนวัตกรรมต่างๆ จะส่งผลที่ดีต่อภาพลักษณ์และเพิ่มจำนวนลูกค้าอีกด้วย”

ออกแบบความคิด …คิดอย่างนักออกแบบ

มทส.ฉลอง 18 ปี เน้นนวัตกรรมต้นแบบ

รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานวิทยาศาสตร์
      
       “ถือเป็นโอกาสดีที่มหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่เหมือนอุทยานวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว อย่าง เช่น การอบรมพัฒนาบุคลากรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การทำแผนธุรกิจ หรือแม้แต่การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เพื่อลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ เรามีเครื่องมือในการทดสอบวิเคราะห์ที่ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถให้บริการสถานประกอบการที่ต้องการทดสอบวิเคราะห์ในด้านต่างๆ”
      
       รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เสริมว่า นอกจากนี้ยังมหาวิทยาลัยจะให้ความสำคัญกับผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว ยังได้สอดแทรกความเป็นไทยให้กับนักศึกษาภายในรั้วมหาวิทยาลัย
       "เราปลูกฝังให้นักศึกษามีพื้นฐานจิตใจที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งโดยการบรรจุเข้าไปในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป และการให้นักศึกษาทำเองในกิจกรรมนอกหลักสูตร เช่น การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ช่วยเหลือสังคมและชุมชน กิจกรรมกีฬาและนันทนาการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้”

แปลนทอยส์....นวัตกรรมของเล่นรักษ์โลก

สถาบันนวัตกรรมทีโอที

totinnovate-qr-011
Address and URL : สถาบันนวัตกรรม ทีโอที



สถาบัน นวัตกรรม ทีโอที เป็นหน่วยงานหลักในการวิจัย พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุน นวัตกรรมต่างๆ ของ ทีโอที และมี ห้องปฏิบัติการเพื่อการทดสอบคุณภาพวัสดุ คุณภาพโครงข่าย คุณภาพเครื่องมือและอุปกรณ์ ตลอดจนดูแลตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัดต่างๆ ด้วยประสบการณ์ยาวนานที่มีรากฐานจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย กับองค์การสหประชาติภายใต้โครงการ The United Nations Development Program. (UNDP) ตั่งแต่ปี พ.ศ. 2505
ภารกิจ ต่อนื่องของสถาบันนวัตกรรม ทีโอที นอกเหนือจากการผลักดันผลงานต่าง ๆ ของ ทีโอที ออกเป็นเชิงพานิชย์แล้ว ยังมีการสนับสนุนให้บริการโทรคมนาคมเพื่อสังคมอย่างทั่วถึงโดยไม่มองข้ามผู้ ด้อยโอกาสในสังคมผลงานที่สำคัญในปี 2552
1.    การบริการทดสอบคุณภาพคุณภาพวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโทรคมนาคม ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการที่สามารถวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ได้ การทดสอบของสถาบันนวัตกรรม ทีโอที ไม่เพียงแต่พิจารณาคุณสมบัติของวัสดุอุปกรณ์ ในขณะทดสอบ แต่คำนึงถึงคุณสมบัติที่น่าเชื่อถือได้นั้นจะคงคุณภาพไปอีกนาน ผลงานการบริการทดสอบคุณภาพมีดังนี้
•    การทดสอบแบบเร่งสภาวะแวดล้อมในการใช้งานเช่น การทดสอบในเครื่องพ่นละอองน้ำเกลือ (Salt Fog Chamber) เครื่องเร่งสภาพการตากแสงอาทิตย์และฝน (Weatherometer) เครื่องเร่งสภาวะอุณหภูมิ (Temperature and Humitdity Cycling Chamber) เป็นต้น
•    การทดสอบที่ต้องป้องกันการรบกวนจากเสียงและคลื่น เช่น คุณสมบัติทางด้าน Receiverของอุปกรณ์ Radio
•    การทดสอบด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานในเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ และอุแกรณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน เช่น การลามไฟของวัสดุ การแผ่รังสี และคุณสมบัติอื่น ๆ ตาม มอก. 1195 เป็นต้น
•    การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและทางกล ทางเคมีและวัสดุทางไฟฟ้า ทางอิเล็กทรอนิกส์ และทางโทรคมนาคม เช่น การทดสอบ Tensile & Elongation Strength การหาชนิดพลาสติก และโลหะ การทดสอบเกี่ยวกับการป้องกันการกัดกร่อน คุณสมบัติการต่อเชื่อมของอุปกรณ์ปลายทางกับโครงข่าย ทีโอที คุณสมบัติของระบบส่งสัญญาณ (Trans mission)

ผู้นำนวัตกรรมการศึกษา

การเรียนการสอน
ผู้นำนวัตกรรมการศึกษา

ผู้นำนวัตกรรมการศึกษา ความมุ่งมั่นตลอด 20 ปีของโรงเรียนอนุบาลมณีรัตน์ และความมุ่งมั่นจากผู้บริหาร ทำให้โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้เป็นทั้งโรงเรียนนำร่อง โรงเรียนแกนนำ และโรงเรียนต้นแบบ เพื่อนำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาใช้และประยุกต์ให้เข้ากับบริบทสังคมไทย และที่สำคัญเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศไทย
  • พ.ศ. 2542 – โรงเรียนนำร่องในโครงการวิจัยนวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิด “เรกจิโอ เอมิเลีย” โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2545 - โรงเรียนแกนนำในโครงการวิจัย “หลักสูตรสถานศึกษาและการพัฒนารูปแบบการคิด ในระดับการศึกษาปฐมวัย”
    โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ.2547 – โรงเรียนแกนนำในโครงการวิจัยเรื่อง
    “กระบวนการคิด” โดย สภาการศึกษา (สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2548 – โรงเรียนนำร่อง หัวข้อ “สมองกับการเรียนรู้”
    (Brain-Based Learning : BBL) กับสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
  • พ.ศ. 2550 - โรงเรียนอนุบาลมณีรัตน์ ได้ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ด้วยระดับดีมากในทุกมาตรฐานและตัวบ่งชี้
จากการนำแนวคิด การจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย การผสมผสานอย่างกลมกลืน โรงเรียนจึงได้รับการยกย่องให้เป็น ผู้นำทางการศึกษา มีสถาบันทางการศึกษามากมายรวมถึง มหาวิทยาลัย สถาบันราชภัฏต่างๆ ได้นำนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทมาศึกษา ดูงานจากโรงเรียนของเรา

  

การที่โรงเรียนได้รับการไว้วางใจจากหน่วยงานรัฐและเอกชน ให้เป็นแกนนำในนวัตกรรมการศึกษาต่างๆ นั้น ทำให้ในปัจจุบันโรงเรียน สามารถนำนวัตกรรมที่ทันสมัยการผสมผสานกับบริบท สังคมและวัฒนธรรมของไทยอย่างกลมกลืน โรงเรียนจึงได้รับการยกย่องให้เป็น “ผู้นำทางการศึกษา” เป็นที่ยอมรับ และเป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงานของนิสิต นักศึกษา สถาบันทางการศึกษา นักวิชาการและนักการศึกษาด้านการศึกษาปฐมวัย

หนังสือรับรองมาตราฐานอาหารปลอดภัย และผลจากการได้เป็นโรงเรียนนำร่อง ทำให้โรงเรียนได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและความสุขของเด็กและคุณครูที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน โรงเรียนจึงยึดหลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย เข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมชุมชน และความเป็นไทยเพื่อช่วยส่งเสริมศักยภาพและความสามารถในทุก ๆ ด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

องค์กรแห่งนวัตกรรม

สร้างคนสไตล์ 'มิตรผล' องค์กรแห่งนวัตกรรม

๐ กรณีศึกษาองค์กรไทย สร้างนวัตกรรมอย่างไร ? แม้ไม่ใช่ Dream Industry
      
๐ Innovation จะเกิดได้ไอเดียใหม่ๆ ยังไม่พอ ถ้าไม่มีเวทีให้ก็ไร้ความหมาย
      
๐ ทุ่มทุนสร้างคน ส่งเรียนต่อ สัมมนาต่างประเทศ เปิดเสรีความคิด ปัจจัยรักองค์กร
      
๐ คุ้มสุดๆ เมื่อผลงานที่ได้ สร้าง Value และลดต้นทุนมูลค่านับพันล้าน

      
ในการทำธุรกิจนั้นเรื่องการลงทุนด้านเทคโนโลยีพัฒนาองค์ความรู้ การทำวิจัย หรือ R&D ต่างๆเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า นำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่การที่จะทำสิ่งต่างๆ ข้างต้นได้นั้น จะไร้ประโยชน์ทันทีถ้า “คน” ของบริษัท ไม่ใช่ The Right Man ตามคำกล่าวที่ว่า Put The Right Man On The Right Job
       
core competency กับนิยามความสำเร็จ
       
           จากการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของคนก่อนพัฒนาสินค้า ทำให้ "บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด" เน้นหนักในเรื่องของการค้นหา พัฒนา และรักษาบุคลากรอันเป็นกำลังสำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ รวมถึงการสร้างเสริมศักยภาพให้บุคลากรมีความสามารถ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต
       
           ชุรี นาคทิพวรรณ ผู้จัดการอาวุโส สำนักงานผู้บริหาร กล่าวว่า "มิตรผล" ระบุคุณสมบัติที่พึงประสงค์ต่อองค์กร(core competency)ไว้ 6 ลักษณะด้วยกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สร้างความเป็นผู้นำให้กับพนักงานในองค์กร คือ 1.การมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ 2.ความใส่ใจในการบริการ 3.ความสามารถในการวิเคราะห์ 4.ความสามารถในการคิดในองค์รวม 5.ความสามารถด้านการคิดริเริ่มอย่างสร้างสรรค์ และ 6.การมุ่งมั่นพัฒนาตนเองและผู้อื่น
       
           นอกจากนี้หนทางสู่ความสำเร็จของพนักงานของ "มิตรผล" จะต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการหลัก คือ 1.can do คือต้องคิดอยู่เสมอว่าตัวเองทำได้ เพื่อไม่ตนเองท้อถอย 2.priority setting ต้องสามารถจัดลำดับความสำคัญเรื่องที่ต้องทำก่อน- หลังได้ 3.finding new way of the new thinking คือการค้นหาความคิดใหม่ๆในการทำงานอยู่เสมอ 4.challenge คือ สามารถทำสิ่งที่ท้าทายความสามารถตัวเองเสมอ
       
           สำหรับคำว่าประสบความสำเร็จในความหมายของ "ชุรี" แล้วไม่เพียงแค่ทำงานชิ้นหนึ่งเสร็จเพียงท่านั้น แต่งานที่ทำเสร็จ คือต้องมีความคิดใหม่ๆ ออกมา หรือเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างขึ้นมาได้นั้น ต้องกลับมาดูว่าสิ่งเหล่านั้นก่อให้เกิดคุณค่า(value)ในเชิงธุรกิหรือก่อให้เกิดความได้เปรียบในเชิงแข่งขันหรือไม่
       
           "มีไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นมาไม่พอ แต่จะต้องมี value มีกลยุทธ์ ต้องสามารถสร้างอนาคตให้กับมิตรผล ทำให้เราต้องมาขับเคลื่อนทางนวัตกรรม จะต้องทำอย่างไรให้คนที่คิดอะไรใหม่ๆเบิกบานใจ ภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองคิด สร้างผลงานให้คนอื่นได้รับรู้หรือยกย่อง เพราะฉะนั้นทางบริษัทได้จัดการประกวดนวัตกรรมสำหรับพนักงานขึ้นเป็นประจำทุกปีเปรียบเสมือนเวทีไว้สำหรับการประลองยุทธ์"
       
เวทีนวัตกรรม มูลค่าสร้างคน สร้างงาน
       
           เพื่อส่งเสริมให้องค์กรมีนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นแล้ว มิตรผลจึงได้จัดการประกวดนวัตกรรมของบริษัท (Mitr Phol Best Innovation Award) เป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 6 เป็นเวทีสำหรับผู้ที่มีความคิดใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นเวทีที่กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการสร้างผลงานออกมาของพนักงานภายในองค์กร
       
           โครงการการประกวดนวัตกรรมนั้น มีเพื่อวัตถุประสงค์คือกระตุ้นให้พนักงานมีความริเริ่มสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา สามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ทำให้ไม่จำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ในขณะที่ประสิทธิภาพในการทำงานต้องดีกว่าเดิม
       
           ซึ่งผลงานที่จะส่งเข้าประกวดได้ในแต่ละปี ไม่ใช่เพียงแค่คิดแล้วจะส่งเข้าประกวดได้เท่านั้น แต่ต้องผ่านการทดสอบด้วยการนำมาใช้จริงก่อนอย่างน้อย 6 เดือน- 1 ปี จึงจะสามารถส่งเข้าประกวดได้ โดยผลงานแต่ละชิ้นที่ผ่านการประกวดจะถูกนำมาใช้ในทำงานภายในบริษัทเท่านั้น ยังไม่เน้นสร้างออกมาในเชิงการพาณิชย์
       
           ขณะเดียวกันการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่เพียงแค่ลดต้นทุนได้เท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับ "มิตรผล" นอกเหนือจากรายได้จากการขายน้ำตาลเพียงอย่างเดียว อาทิเช่น การทำโรงไฟฟ้าชีวมวลจากชานอ้อย ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าส่งขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต คิดเป็นรายได้ปีหนึ่งมูลค่านับพันล้าน หรือการนำชานอ้อยที่เหลือจากการผลิตน้ำตาลมาผลิตเป็นไม้เคลือบเมลามีน ผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้ ขายให้กับบริษัททำเฟอร์นิเจอร์
       
           นอกจากนั้นพนักงานของมิตรผลยังสามารถนำของเสียที่เกิดจากการผลิต แปรเปลี่ยนให้เกิดเป็นมูลค่า จึงทำให้ปัจจุบันบริษัทมีของเสียจากการผลิตเป็นศูนย์(Zero Waste) เช่น ขี้เถ้าของชานอ้อยและตะกอนจากบ่อบำบัดน้ำทิ้ง ซึ่งเดิมทีต้องใช้งบประมาณในการกำจัดของเสียในส่วนนี้ไม่ต่ำกว่าปีละ 5 ล้านบาท แต่พนักงานได้นำขี้เถ้าและตะกอนมาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตอิฐบล็อกแทนการใช้ดินเหนียว ส่งผลให้อิฐบล็อกที่ได้มีน้ำหนักเบากว่าอิฐปกติ 50% ในขณะที่ต้นทุนถูกว่าการซื้ออิฐครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งในขณะนี้อยู่ในช่วงทดสอบถึงคุณภาพด้านอื่นๆเพื่อพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้ได้จริง
       
ทุ่มงบสร้างบุคลากร เรียนรู้รอบด้าน
       
           ทั้งนี้เบื้องหลังของการสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นเพราะ “มิตรผล” ตระหนักดีว่า "บุคลากร" คือปัจจัยสำคัญที่สร้างความแตกต่าง ความสำเร็จ หรือความล้มเหลวให้กับองค์กร จึงมุ่งเน้นในเรื่อง การค้นหา พัฒนา ส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การทำงานมีรูปแบบเป็นลักษณะของการดึงเอาศักยภาพที่ดีที่สุดของบุคลากรออกมา
       
           มุ่งเน้นในเรื่องการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดเห็นได้ทุระดับทุกแผนก และรักษาบุคลากรอันเป็นกำลังสำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ รวมถึงการสร้างเสริมศักยภาพให้บุคลากรสามารถ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคต
       
           มิตรผลเองจึงมีแนวทางการพัฒนาคนด้วยการใช้วิธีการที่หลากหลาย แต่ยังคงเน้นหนักไปที่เรื่องการฝึกอบรมในหลักสูตรระยะสั้นเพื่อให้ทั่วถึงกับพนักงานทุกคน โดยมีกำหนดขั้นต่ำว่าพนักงานทุกคนจะต้องเข้าอบรม 20 ชั่วโมงต่อปี ไม่ว่าพนักงานนั้นจะอยู่ฝ่ายไร่ ฝ่ายการผลิตหรือฝ่าย back office ซึ่งหลักสูตรก็จะเหมาะสมกับลักษณะงานที่แต่ละคนทำอยู่
       
           นอกจากนั้นหากมีการสัมมนาเรื่องใดที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจและสำคัญต่อการพัฒนาคนของบริษัท มิตรผล ก็จะส่งพนักงานเข้าร่วมอยู่เสมอ โดยเฉพาะการสัมมนาระดับโลก ซึ่งทุกๆ 3 ปี บริษัทจะส่งพนักงานเข้าร่วมการประชุมน้ำตาลโลก ISSCT (International Society of Sugar Cane Technologis Congress) ซึ่งปีนี้จัดที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยปีหนึ่งจะส่งคนไปไม่ต่ำกว่า 10 คน
       
           ซึ่งพนักงานที่ไปประชุมในระดับโลกจะต้องกลับมาแชร์ความรู้ที่ได้รับจากงานให้กับเพื่อนๆพนักงานด้วยกันอีกหลายพันคน เพื่อกระจายความรู้ด้านนวัตกรรมให้รับรู้อย่างทั่วถึงภายในองค์กร ว่าในขณะนี้อุตสาหกรรมน้ำตาลของโลกเขาอยู่ในระดับไหน มีนวัตกรรมอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นบ้าง
       
           ยิ่งไปกว่านั้น ชุรี ยังได้คิดหาวิธีในการกระตุ้นให้พนักงานมีความคิดในเชิงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอด้วยวิธีอบรมแบบ Day to Day ด้วยการสื่อสารผ่านตัวการ์ตูนฮีโร่ที่เธอคิดขึ้นมาเอง 6 ตัว 6 คาร์แร็กเตอร์ ซึ่งฮีโร่แต่ละตัวจะเป็นตัวแทนของ core competency ในแต่ละข้อ ตัวอย่างเช่น Winnie เป็นตัวแทนของการมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ หรือ smilie ซึ่งเป็นตัวแทนของความใส่ใจในการบริการ
       
           ซึ่งวิธีการทำการ์ตูนฮีโร่ขึ้นมานั้นเกิดจากที่เธอเห็นถึงจุดอ่อนของการเทรนนิ่งในชั้นเรียนที่ส่วนใหญ่แล้วเมื่อออกมาจากห้องเรียนแล้ว ความรู้ที่ได้รับจะเหลือเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ยิ่งนานไปก็เลือนหาย แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นการ์ตูนเนื้อหาสั้นๆ ไม่เกิน 2-3 นาที พนักงานสามารถทบทวนความรู้ได้ทุกเวลาเมื่อว่างจากการทำงาน เพียงแค่คลิกเข้ามาที่คอมพิวเตอร์เท่านั้น
       
           นวัตกรรมต่างๆจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากองค์กรไม่มีการส่งเสริมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่มิตรผลมีระบบที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมอย่างเต็มที่ กล่าวคือ ถ้าพนักงานคนใดต้องการทดลองสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา บริษัทก็จะสนับสนุนห้องแล็ป สนับสนุนงบประมาณในการทดลอง บางคนหากต้องการพัฒนาในเชิงลึกอย่างจริงจังก็จะส่งไปเรียนต่อเพื่อทำวิจัยกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ในอนาคตบริษัทจะเตรียมที่จ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงานโดยตรงเพื่อให้พนักงานสามารถเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้อย่างแข็งแกร่งมาก
       
           นอกจากการส่งเสริมพนักงานด้านนวัตกรรมแล้ว มิตรผลยังส่งเสริมสร้างรายได้ให้กับแม่บ้านของพนักงาน อาทิเช่น การแบ่งพื้นที่ให้ปลูกผักเพื่อนำไปขาย การนำนวัตกรรมที่พนักงานคิดค้นมาทำเป็นธุรกิจของชุมชนเพื่อส่งเสริมให้เกิดรายได้เสริมกับครอบครัวของพนักงาน จากนโยบายต่างๆที่สนับสนุนพนักงาน รวมทั้งระบบการประเมินผลงานของพนักงานที่เป็นธรรมด้วยการประเมินจากเจ้านายหลายคน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่พนักงานหลายคนจะมีอายุการทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
       
           องค์กรมิตรผลจึงน่าจะเป็นตัวอย่างให้กับธุรกิจการเกษตร หรือแม้แต่ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆที่จะนำแนวทางในพัฒนาศักยภาพของคนเพื่อการขับเคลื่อนองค์กร

ทิศทางตลาดไอทีปี 2554

จีอีเปลี่ยนเกมชูโมเดล “นวัตกรรมย้อนรอย”


เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ผู้บริโภคถามหาของถูกและดี ยักษ์ใหญ่อย่าง “จีอี” จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเกมจากสินค้าพรีเมียม บ่ายหน้าสู่นวัตกรรม
“Shift Power to Where the Growth Is” ทุ่ม..สรรพกำลังไปในส่วนที่เติบโต เพื่อรักษาตำแหน่งความเป็นผู้นำ และเพื่อสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่อง
เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจของจีอี หรือ บริษัท เจนเนอรัล อิเลคทริค บริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติอเมริกาที่กำลังขยับหมากธุรกิจตัวเองสู่ตลาดประเทศที่กำลังร้อนแรงอย่างเช่น จีน อินเดีย รวมไปถึงตลาดประเทศที่กำลังพัฒนา
ด้วยเหตุที่รายได้กว่าครึ่งของจีอีขณะนี้มาจากทั่วโลก กลยุทธ์ต่อตลาดต่างประเทศจึงมีความหมายต่อจีอี
ความหลากหลายของธุรกิจจีอีที่มีรายได้จาก 3 ส่วนหลักได้แก่ อินฟราสตรัคเจอร์ 54% ไฟแนนซ์ 37% และมีเดีย 9% ของรายได้รวมจีอีทั่วโลกประมาณ 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และครอบคลุมหลายภูมิภาค ทำให้จีอีจำเป็นต้องมีโมเดลธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น
รวมทั้งใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับตลาดต่างๆ
จีอีไม่แตกต่างจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ที่เมื่อเติบโตมาระยะหนึ่ง อัตราการเติบโตก็ไม่หวือหวาเหมือนก่อน มิหนำซ้ำธุรกิจยังเจอมรสุมต่อเนื่อง แม้ว่าผู้บริหารจะแก้ปัญหาด้วยวิธีต่างๆ เช่น ตัดขายธุรกิจบางส่วน หรือเทคโอเวอร์กิจการที่สนับสนุนการโต
แต่ดูเหมือนว่าผลงานที่ออกมาจะยัง “ไม่เข้าตา” นักลงทุนอยู่ดี
เจฟฟ์ อิมเมลท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจีอี จึงประกาศกลยุทธ์ใหม่ให้เหมาะกับสถานการณ์ เริ่มที่ จีอี เฮลท์แคร์ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสุขภาพ ซึ่งจีอีเป็นเจ้าตลาดเครื่องมือแพทย์อยู่
เมื่อประเมินว่า สภาพเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ผู้ประกอบการหลายค่ายต้องงัดกลยุทธ์เล่นสงครามราคาให้สอดคล้องกับกำลังซื้อลูกค้า ตลาดเครื่องมือแพทย์ก็ไม่อยู่ในข่ายเว้นที่จะตามรอยสินค้าคอนซูมเมอร์ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่ลูกค้าถามหาของดีของถูก
จึงนำมาซึ่งความหวั่นใจของจีอีว่า จะสูญเสียส่วนแบ่งให้กับผู้ผลิตจากจีน อินเดีย ที่เริ่มเข้ามาในตลาดประเทศโลกที่ 3 หรือประเทศกำลังพัฒนา
“เรามีปัญหาเหมือนกัน เพราะเครื่องมือหลายๆ อย่าง ชิ้นส่วนหลายชิ้นส่วน พรรคพวกเพื่อนฝูงในวงการบอกว่า ทำได้เหมือนจีอี ซื้อของเขาดีกว่า” พรเลิศ ลัธธนันท์ ประธานบริหาร เจเนอรัล อิเลคทริค ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (จีอี) เล่าถึงภาวะการแข่งขัน
ก่อนหน้านี้ จีอี เฮลท์แคร์ ดำเนินงานเหมือนแผนกอื่นๆ เน้นให้บริการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ที่ผลิตขึ้นสำหรับตลาดที่มีรายได้สูง
แต่สภาพตลาดที่กำลังซื้อหดตัวแบบนี้ จะให้จีอีไปฟาดฟันสงครามราคากับคู่แข่งตรงๆ ดูจะเสีย “ศักดิ์ศรี” แชมป์
จึงตกเป็นภารกิจของอิมเมลท์ซึ่งเคยเป็นซีอีโอกลุ่มจีอีเฮลท์แคร์ ก่อนขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของจีอีต้องแก้เกมการแข่งขัน
อิมเมลท์ ผู้บริหารดีกรีปริญญาโทจากฮาวาร์ดเลือกที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการส่งออกไปยังตลาดที่กำลังเติบโต ตลาดกำลังพัฒนา ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นทุนต่ำที่มีนวัตกรรมก้าวหน้า และตอบสนองตามระดับความต้องการและความพึงพอใจในตลาดนั้นๆ
นั่นหมายถึง ”ราคา” ที่ถูกลง คุณภาพหรือประสิทธิภาพเพียงพอกับระดับความต้องการ ซึ่งอิมเมลท์เชื่อว่าในตลาดใหม่เหล่านี้น่าจะใหญ่กว่าตลาดเดิมถึง 10 เท่าด้วยซ้ำ
ขณะเดียวกันนอกจากจะตอบสนองความต้องการตลาดในประเทศกำลังพัฒนาแล้ว จีอียังสามารถนำความคิดหรือวิธีพัฒนาโพรดักท์ ”ย้อนกลับ” ไปใช้ในตลาดที่พัฒนาได้ด้วย
วิธีการนี้เรียกว่า “Reverse Innovation” หรือ “นวัตกรรมย้อนรอย”
นั่นคือ แทนที่จะพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ขึ้นในประเทศพัฒนา แล้วส่งออกมาขายทั่วโลกเหมือนสมัยก่อน ซึ่งเป็นวิธีที่ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมต่างๆ นิยมทำกัน ก็เปลี่ยนเป็นดูความต้องการของตลาดนั้นๆ ว่าต้องการอะไร
แล้วพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะกับความต้องการตลาด
ตรงตามหลักการทำงานข้อแรกของจีอี นั่นคือ  “External Focus” คือ คุณต้องตามตลาด ตามพาร์ทเนอร์ ตามสิ่งที่โลกต้องการ เป็นการใช้กลยุทธ์ที่สะท้อนจากความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไป รวมถึงวิธีแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในตลาดเฮลท์แคร์ ขณะเดียวกันยังใช้ “ตีกัน” คู่แข่งที่จะเข้ามาในตลาดนั้นๆ
“การพัฒนาเครื่องมือแพทย์ให้มีนวัตกรรม มีราคาต่ำลง หรือเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ซับซ้อน เพื่อจำหน่ายในตลาดเกิดใหม่ หรือแม้กระทั่งในสหรัฐฯ เป็นการป้องกันคู่แข่งหน้าใหม่ที่จะเข้ามาชิงตลาด”  อิมเมลท์ กล่าวไว้เช่นนั้น
ขณะที่พรเลิศเฉลยว่า ข้อดีของการทำนวัตกรรมย้อนรอยท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรง คือ ช่วยร่นระยะเวลาในการพัฒนานวัตกรรม สามารถส่งผลิตภัณฑ์สู่ตลาดเร็วสุด เท่ากับช่วยลดต้นทุน
เพราะการเป็น “รายแรก” ในตลาดจะมีโอกาสทางการตลาดมากกว่าคู่แข่งนั่นเอง
ทำไม? จีอี ถึงเลือกกลุ่มธุรกิจเฮลท์แคร์มานำร่องแนวคิดของการทำนวัตกรรมย้อนรอย
พรเลิศเฉลยว่า เหตุที่เฮลท์แคร์เป็นพระเอก เพราะจุดแข็งเรื่องการตรวจหาอาการผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ในลักษณะ “Service Innovater” ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยทิศทางการดำเนินงานทั่วโลกต่างเน้นเรื่อง “Healthymagination” ในการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจทางด้านสุขภาพ
การที่จีอีมีเทคโนโลยีที่สมบูรณ์มากกว่าตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ เลือกเล่นด้วยวิธีการนี้ในตลาด เชื่อว่า คู่แข่งคงหนาวๆ ร้อนๆ เหมือนกัน
แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมย้อนรอย 2 ทางอย่างที่พูด เพราะเป็นการดำเนินงานที่ “สวนทาง” กับการทำตลาดแบบศูนย์รวม และแบบแผนการดำเนินงานที่ยึดถือมานานนับทศวรรษ
“ปัญหามีอยู่ว่า ในส่วนของอาร์แอนด์ดีนั้นเขาค่อนข้างสเปเชียลลิสท์ แต่ละศูนย์ก็มีความชำนาญเฉพาะด้าน อยู่ๆ จะให้ทีมเซลส์ที่ไหนก็ไม่รู้จะเอาโพรดักท์ซึ่งดีไซน์มาอย่างดีไปแก้ให้เหมาะกับตลาด ย่อมเกิดปัญหาตามมา
เหมือนคุณทานอาหารในบางร้าน แล้วคุณไปเติมเครื่องปรุง เขาจะไล่คุณออกจากร้านได้เลยเพราะพ่อครัวมั่นใจในฝีมือเขา” พรเลิศเล่า
จีอีได้ปรับระบบโดยเซ็ตโมเดลใหม่ขึ้นมา
ในกระบวนการใหม่ มีการแยกศูนย์รวมและดำเนินงานที่มุ่งเน้นตลาดท้องถิ่นโดยเฉพาะ ค้นหาไอเดียสดใหม่เพื่อรักษาความเป็นผู้นำ ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ในระดับราคาที่สามารถทำได้จริง
ผู้บริหารในแต่ละตลาดมีอำนาจที่จะตัดสินใจว่าจะเลือกสินค้าใด ผลิตแบบไหน จำหน่ายอย่างไร
จีอียังได้จัดตั้งทีมพัฒนาตลาดใน 12 พื้นที่ทั่วโลกเพื่อเป็นหน่วยปฏิบัติการสำรวจความเป็นไปได้ในการขยายฐานลูกค้า นอกเหนือจากตลาดพรีเมียมในประเทศที่พัฒนาแล้ว
ตลาดที่จีอีมุ่งไป นอกจากเป็นประเทศกำลังพัฒนาแล้ว ยังมีกลุ่มประเทศบริก อย่างจีน รัสเซีย บราซิล อินเดีย ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เพราะเป็นประเทศใหญ่ มีพลเมืองจำนวนมาก มีเม็ดเงินมหาศาล
ทั้งนี้ผู้บริหารจีอีเชื่อว่า นวัตกรรมย้อนรอยจะทำให้อัตราการเติบโตแง่รายได้เพิ่มขึ้น 2-3 เท่าของเศรษฐกิจในแต่ละตลาด เช่น ถ้าประเทศจีนเติบโต 9% อัตราโตของจีอีในตลาดจีน 3 เท่าจะเท่ากับ 27% หรือถ้าโต 2 เท่าก็เท่ากับ 18%
รวมทั้งยังตั้งเป้าลดต้นทุน 20% เพิ่มคุณภาพ 20% และจะเพิ่มการเข้าถึงของผู้คน 50%
ล่าสุด จีอีได้ลงทุนด้านอุปกรณ์การผลิตในประเทศอินเดีย จีน และประเทศอื่นๆ สำหรับการผลิตสินค้าเพื่อตลาดดังกล่าวโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของตลาดสหรัฐอเมริกาและตลาดในทวีปเขตเหนือ โดยบริษัทได้ริเริ่มใช้กลยุทธ์นวัตกรรมย้อนรอย และสำรวจความเป็นไปได้ของการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในธุรกิจ
หลักการเบื้องต้นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ เมื่อผลิตภัณฑ์จากจีอี “ติดตลาด” ที่กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่งแล้ว บริษัทจะนำผลิตภัณฑ์นั้นส่งขายไปทั่วโลก
รวมถึงกระบวนการบุกเบิกแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เพื่อสร้างมาตรฐานราคาที่ต่ำลง
แม้กระทั่งการใช้นวัตกรรมต่างๆ เข้าไปทดแทนผลิตภัณฑ์ที่มีมาร์จินสินค้าสูงกว่าในประเทศร่ำรวย
จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมจีอีถึงได้ลงทุนทั้งด้านทรัพยากรบุคคล เงินทุน และระบบการดำเนินงานที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรในระดับโลกให้กับหน่วยธุรกิจของบริษัทในประเทศจีน และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เพื่อกระตุ้นความเติบโตไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ตามภารกิจครั้งใหม่นี้
โดยในช่วงเวลานี้จนถึงปี 2558 จีอีประกาศทุ่มงบลงทุนในโครงการนี้ประมาณ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยวงเงิน 3 พันล้านเหรียญจะถูกใช้ในการพัฒนานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับตลาด
“ถึงแม้ว่าตลาดในโลกจะไม่คล้ายคลึงกัน คนจีนกับอินเดียคงมีความแตกต่างกัน คนไทยกับคนมาเลเซียต่างกัน ทำอย่างไรให้จีอีที่ทำตลาดใน 130 ประเทศปรับตัวให้เข้ากับทุกตลาดได้ Reverse Innovation จะเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่เสริมแนวคิดนี้” พรเลิศระบุ
สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า จีอี พร้อมที่จะรับ “Paradigm” หรือกระบวนคิดวิเคราะห์ วิธีคิด วิธีปฏิบัติ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะแวดล้อม เงื่อนไขในแต่ละยุค และสถานการณ์ของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงหลังจากเกิดวิกฤติการเงิน
แนวการปรับตัวที่สำคัญก็คือ บริษัทจะต้องมีความคล่องตัวอย่างยิ่งในโลกธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น
นวัตกรรมย้อนรอยของจีอีเป็นไปเพื่อเข้าครอบครองพื้นที่ตลาดใหญ่ๆ ที่กำลังเติบโตก่อนคู่แข่ง เพื่อสร้างยอดขายทดแทนของจีอีที่สูญเสียไปในตลาดหลักของบริษัท
นวัตกรรมนี้จึงถูกระบุว่า ไม่ใช่เป็นแค่ทางเลือก แต่เป็นสิ่งที่ “จำเป็น” เสมือนออกซิเจนในการดำรงชีวิต

นวัตกรรมกลยุทธ์

“นวัตกรรม” กลยุทธ์หลักเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางธุรกิจ
                                                 Image 


หลายองค์กรยังมีการวางกลยุทธ์และแผนงานรายปี บริษัทที่ดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมนี้จึงมักประสบปัญหาขาดแนวคิดริเริ่มใหม่ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจเกิดผลกำไรมากขึ้น ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันต่างให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นกลยุทธ์หลักทางธุรกิจขององค์กรเพื่อกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจ
  องค์กรหลายแห่งยังคงมีแนวทางวางกลยุทธ์ทางธุรกิจแบบเก่าอยู่ ซึ่งรวมไปถึงการสร้างฐานข้อมูลของตลาด เพื่อนำมาวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ส่วนแบ่งของตลาด และคู่แข่ง ในขณะที่มองเทคโนโลยี และกระบวนการเป็นเพียงช่องทางในการทำธุรกรรมอันเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ที่ได้วางไว้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีจึงกลายเป็นจุดบอดของธุรกิจที่กำลังแผ่วงกว้างมากขึ้นในปัจจุบัน

นวัตกรรมสร้างโอกาสทางธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง นวัตกรรมแตกต่างจากการเติบโตโดยทั่วไปคือคู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจขยายตัวและเติบโตได้อย่างมั่นคงได้มากกว่าการนำเสนอสินค้าและบริการแบบเดิมๆ ในรูปแบบที่ต่างออกไป

ทำไมการเติบโตจึงสำคัญนัก? IBM Institute of Business Value ได้จัดทำรายงานที่มีชื่อว่า The Growth Triathlon พบว่า อัตราการเติบโตของผลกำไรขององค์กรที่มีนวตกรรมมีโอกาสที่เพิ่มมูลค่าหุ้นได้มากกว่าสองเท่า รายงานนี้เป็นรายงานการศึกษาจาก Standard and Poor’s Global 1200 ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา และเป็นรายงานที่ประกอบไปด้วยดัชนีจากบริษัทต่างๆ ทั่วโลกที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

การเติบโตโดยใช้นวัตกรรมคือการหาช่องทางที่จะนำเสนอคุณค่าใหม่ๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าและตลาดที่มีอยู่เดิม หรือสร้างตลาดใหม่ การนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยเร่งให้ตามความต้องการของตลาดได้ทันและลดความเสี่ยงในการเกิดความล้าหลัง และยังช่วยให้คาดการณ์สถานการณ์ต่างๆ และวางแผนในการแข่งขันกับคู่แข่ง

นวัตกรรมจะช่วยให้ธุรกิจตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของตลาด และความซับซ้อนของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นที่ไม่สามารถจัดการได้ด้วยแผนงานแบบเดิม ตัวอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องนี้คือบริษัท โพรเกรสซิฟซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของสหรัฐอเมริกา โพรเกรสซิฟได้สร้างนวัตกรรมมาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้บริษัทมีผลกำไรดีและเติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ในปี 2546 รายได้สุทธิของบริษัทโพรเกรสซิฟเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ถึง 88% ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา มูลค่าหุ้นบริษัท โพรเกรสซิฟก็เป็นที่น่าพอใจทั้งที่วัดจากดัชนีหุ้นดาวน์โจนส์ ดัชนีประกันภัย และ S&P 500

นวัตกรรมต่างๆ ที่บริษัทโพรเกรสซิฟได้สร้างขึ้นสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่นในปี 2540 บริษัทได้นำเสนอช่องทางให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อประกันรถยนต์ทางช่องทางการขายออนไลน์ได้แบบเรียลไทม์เป็นครั้งแรก และในปี 2544 บริษัทได้บุกเบิกอุตสาหกรรมการประกันภัยรถยนต์ด้วยการสร้างระบบจ่ายเบี้ยประกันแบบไร้สายขึ้นเป็นครั้งแรก

นวัตกรรมจากปูนซีเมนต์

ปูนเสือร่วมกับคอตโต้ เดินหน้าผลักดันนวัตกรรมจากปูนซีเมนต์


เปิดตัวนิทรรศการ “Building Cloud” นวัตกรรมปูนซีเมนต์บนงานออกแบบสิ่งทอ ในงาน Bangkok Design Festival 2010
ปูนเสือร่วมกับคอตโต้ เดินหน้าผลักดันนวัตกรรมจากปูนซีเมนต์
เปิดตัวนิทรรศการ “Building Cloud” นวัตกรรมปูนซีเมนต์บนงานออกแบบสิ่งทอ
ในงาน Bangkok Design Festival 2010

            กรุงเทพฯ: 22 พฤศจิกายน 2553 - เอสซีจี ซิเมนต์ ผู้ผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์แบรนด์ เสือ และคอตโต้ ในเอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ร่วมผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรม สนับสนุนโครงการต่อยอดสร้างสรรค์งานศิลปะจากปูนซีเมนต์ โดยดีไซเนอร์ระดับโลกกับดีไซเนอร์ชาวไทย  พร้อมเผยโฉมงานออกแบบนวัตกรรมจากเทคนิคการหล่อผ้าและคอนกรีตเข้าด้วยกันภายใต้คอนเซ็ปต์ “Building Cloud”  ชวนผู้รักการแต่งบ้านและงานศิลป์ ร่วมชมนิทรรศการ 20-30 พ.ย. นี้ ในช่วงเทศกาล Bangkok Design Festival ที่เซ็นทรัลเวิร์ลด์   

ชัชวาลย์ เศรษฐบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามปูนซิเมนต์ขาว จำกัด ในเอสซีจี ซิเมนต์ เปิดเผย ว่า ในอดีต คนมักจะมองปูนซีเมนต์เป็นของไกลตัว และสนใจแต่เรื่องของความแข็งแกร่ง แต่ปัจจุบันรูปแบบงานสร้างสรรค์ของปูนซีเมนต์ได้รับการพัฒนาให้ตอบสนอง lifestyle ต่างๆ ของผู้คนได้มากขึ้น  ลูกค้านิยมเลือกใช้ปูนซีเมนต์ในการตกแต่งบ้านและอาคาร ไม่ว่าจะเป็น งานปูนเปลือย งานปูนฉาบสี ฉาบขาว งานหล่อหินทราย พื้นหินขัด Terrazzo และยังคงมีงานสร้างสรรค์ต่างๆ ออกมาใหม่ๆ อย่างไม่สิ้นสุด สินค้าปูนซีเมนต์  ในวันนี้  จึงไม่ได้เป็นแค่วัสดุโครงสร้างในงานก่อสร้าง แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม และสามารถพัฒนา    ต่อยอดให้เกิดการใช้งานในรูปแบบที่หลากหลายและไร้ขีดจำกัด

ปูนเสือให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมจากปูนซีเมนต์มาก จึงได้ร่วมกับคอตโต้ สนับสนุนโครงการพัฒนางานออกแบบที่นำเทคนิคการหล่อผ้ามาผสานกับการหล่อคอนกรีต ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของ Ms.Trish Belford ศิลปินระดับโลกชาวไอร์แลนด์เหนือ และอ.จารุพัชร อาชวะสมิต ศิลปินชาวไทย เพื่อร่วมส่งเสริมการสร้างสรรค์งานศิลปะที่รังสรรค์จากปูนซีเมนต์ในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งนับเป็นโอกาสดีและหาได้ยากที่คนไทยจะได้มีประสบการณ์ร่วมกับศิลปินระดับโลก และเพื่อเป็นการเปิดมุมมองและจุดประกายความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมจากปูนซีเมนต์ต่อเนื่อง  ปูนเสือและคอตโต้จึงเตรียมแผนจัดกิจกรรมต่อยอด โดยชวนศิลปินทั้งสองชาติ มาร่วมจัด Workshop เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม   จากปูนซีเมนต์ กับกลุ่มนักศึกษา และสถาปนิก ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า เราหวังที่จะส่งเสริมให้เกิดการ   เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ที่    สร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภคในวงกว้าง ทั้งยังพัฒนาปูนซีเมนต์ให้มีคุณสมบัติการใช้งานที่หลากหลาย    พัฒนาวงการออกแบบและอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ต่อไป ชัชวาลย์กล่าวเพิ่มเติม

อนุวัตร เฉลิมไชย แบรนด์ไดเร็คเตอร์ สำนักงานบริหารแบรนด์ เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวว่า   คอตโต้มุ่งส่งเสริมและผลักดันการสร้างสรรค์งานออกแบบของคนไทยให้เติบโตสู่ระดับโลกมาอย่างต่อเนื่อง    เราได้เข้าไปมีส่วนร่วมในงาน Bangkok Design Festival ซึ่งเป็นงานใหญ่ที่รวบรวมผลงานออกแบบในศิลปะ     หลากหลายแขนงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2007 และได้ชักชวนกลุ่มธุรกิจต่างๆ ของเอสซีจี เข้ามาร่วมด้วย โดยในปีนี้ นอกจากคอตโต้จะร่วมกับ เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จัดแสดงผลงานจากแนวคิดรูปแบบการใช้ชีวิต       ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  เพื่อแสดงจุดยืนความเป็นผู้นำด้านงานออกแบบวัสดุก่อสร้างและตกแต่งแล้ว 
คอตโต้ยังได้ร่วมกับปูนเสือ สนับสนุนนิทรรศการ “Building Cloud” นวัตกรรมปูนซีเมนต์บนงานออกแบบสิ่งทอด้วย สำหรับคอนเซ็ปต์การออกแบบงานนี้ คือ การนำผ้าทอมือที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเอกลักษณ์ของผ้าไทยจาก 4 ภาค มาผสมผสานกับเอกลักษณ์ของเส้นด้ายลินินและผ้าลูกไม้จากไอร์แลนด์เหนือ  โดยใช้เทคนิคการผสมผสานการหล่อผ้าและคอนกรีตเข้าด้วยกัน จนออกมาเป็นชิ้นงานหล่อปูนซีเมนต์ที่ผสานกับลายผ้าอย่างสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ และสามารถนำไปใช้กับงานตกแต่งบ้านได้ ในประเภทเดียวกันกับสินค้า Surface Covering ที่คอตโต้เป็นผู้นำตลาดอยู่  คอตโต้รู้สึกยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมงานออกแบบใหม่ๆ และ          จุดประกายให้คนไทยสนใจเรื่องการสร้างสรรค์งานศิลปะกันมากขึ้น เรายังคงเดินหน้าส่งเสริมด้านนี้อย่างต่อเนื่อง และจะพร้อมจะนำแนวคิดแปลกๆ ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดนิ่งมาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม เสริมศักยภาพการเป็น Trend setter ของตลาด และสามารถต่อยอดทางธุรกิจต่อไป               

นิทรรศการ “Building Cloud” เป็นนิทรรศการงานออกแบบนวัตกรรมปูนซีเมนต์บนงานออกแบบสิ่งทอ โดยใช้เทคนิคการหล่อผ้าและคอนกรีตเข้าด้วยกัน ด้วยหลักการของการเติมเต็มของสสาร คอนกรีตจะไหลเข้าไปในพื้นที่ว่างระหว่างด้ายพุ่งและด้ายยืน ระหว่างรอยแยกและรอยห่างของผ้าที่ถูกสร้างขึ้น เมื่อผ้าและคอนกรีตรวมเป็นหนึ่ง ผ้าจะกลายเป็นพื้นผิวที่อ่อนนุ่มของคอนกรีต และคอนกรีตจะกลายเป็นหลักที่มั่นคงให้กับผ้า  ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ Building Cloud ได้ในช่วงเทศกาล Bangkok Design Festival ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ลด์ บริเวณโซน Forum ชั้น 2 ใกล้ B2S ระหว่างวันที่ 20-30 พฤศจิกายนนี้

ซิสโก้ผู้นำองค์กรสีเขียว

นวัตกรรมเพื่อการบริหารสถานศึกษา

นวัตกรรมเพื่อการบริหารสถานศึกษา

           การบริหารสถานศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์และยุคของการปฏิรูปการศึกษาและการกระจายอำนาจทางการศึกษาจากส่วนกลางไปสู่ระดับสถานศึกษา ส่งผลให้ผู้บริหารสถานศึกษาต้องใช้ความสามารถและอำนาจในการตัดสินใจ และต้องมีภาวะผู้นำ มีความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ  ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีเครื่องมือในการบริหารจัดการ  นวัตกรรม  เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการบริหารสถานศึกษาไปสู่เป้าหมาย  การบริหารสถานศึกษาแนวใหม่จึงจำเป็นต้องนำ นวัตกรรม มาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ
           เบื้องต้นจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของนวัตกรรม เพื่อจะได้เห็นความสำคัญและความสัมพันธ์กับการบริหารสถานศึกษาต่อไป
ความหมายของนวัตกรรม
          การที่จะรู้จักนวัตกรรมก็จะต้องเข้าใจถึงความหมายของนวัตกรรม เป็นเบื้องต้น ก่อนซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้หลายประการ  ดังนี้
         โธมัส  ฮิวซ์   :  นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว โดยมีขั้นตอนตามลำดับ คือ การคิดค้น การพัฒนา และนำไปปฏิบัติจริง  ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (กีรติ  ยศยิ่งยง : 2552)
          กีรติ  ยศยิ่งยง  :  นวัตกรรม เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ คิดค้น พัฒนา สามารถนำไปปฏิบัติจริง และมีการเผยแพร่ออกสู่ชุมชน ในลักษณะเป็นของใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน  หรือของเก่าที่มีอยู่แต่เดิมแต่ได้รับการปรับปรุงเสริมแต่งพัฒนาขึ้นใหม่ให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สามารถนำไปใช้ในเชิงพานิชย์ได้ (กีรติ  ยศยิ่งยง : 2552)
            วรภัทร์  ภู่เจริญ  :  นวัตกรรม คือ เครื่องมืออย่างหนึ่งในความเป็นนักประกอบการมืออาชีพ
                                      :   นวัตกรรม คือ การกระทำต่างๆที่นำเอาทรัพยากรต่างๆมาทำให้เกิดขีดความสามารถใหม่ๆในทางที่ดีขึ้น
                                      :  “ นวต” มาจากคำว่า ใหม่(new หรือ nuvo) เมื่อพ่วงคำว่า  “กรรม” ที่แปลว่า การกระทำ  ลงไป   จะกลายเป็น  การกระทำใหม่ๆ หรือ ผลงานใหม่ๆซึ่งถ้าแปล
นวัตกรรม = การกระทำใหม่ๆดูออกจะแคบเกินไป เพราะนวัตกรรมมีความหมายที่กว้าง และยิ่งใหญ่กว่าแค่ทำอะไรใหม่ๆ
               จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนคิดว่า  นวัตกรรม  คือ  เครื่องมือ รูปแบบ  วิธีการ ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ หรือ ปรับปรุง ต่อยอดของเดิมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา  พัฒนาองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมาย
               การบริหารสถานศึกษากับนวัตกรรมจึงจำเป็นจะต้องอยู่คู่กันไป  เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการ  และนวัตกรรมในการบริหารมีอยู่หลายประเภท ซึ่งมีนักวิชาการและนักนวัตกรรมได้แบ่งประเภทของนวัตกรรม ไว้ดังนี้
               สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ(อ้างใน กีรติ  ยศยิ่งยง : 2552 ) แบ่งประเภทของนวัตกรรมออกเป็น  2  ประเภท คือ
               1.นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product  Innovation) ที่ประกอบไปด้วยนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ กับผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้
               2.นวัตกรรมกระบวนการ (Process  Innovation) ที่ประกอบไปด้วยนวัตกรรมกระบวนการทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมกระบวนการทางองค์กร
              เชลเวย์ เบคเกอร์ (อ้างใน กีรติ  ยศยิ่งยง : 2552 )  แบ่งนวัตกรรมออกเป็น 3 ประเภท คือ
             1.นวัตกรรมทางสินค้า (Product  Innovation) ในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างสินค้าใหม่  การปรับปรุงสินค้าที่มีอยู่ หรือ รวมสินค้าที่มีอยู่เข้าไปในสินค้าใหม่
             2. นวัตกรรมทางกระบวนการ (Process  Innovation) ในเรื่องของการเปลี่ยนวิธีการผลิตสินค้า  รวมถึงรูปแบบการบริหาร หรือเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ ที่มีผลต่อกระบวนการผลิตสินค้าใหม่หรือประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต
              3.นวัตกรรมทางการตลาด (Marketing  Innovation)  ในเรื่องที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย หรือการประเมินและการทำนายความต้องการของผู้บริโภค
             วรภัทร์   ภู่เจริญ  (การบริหารนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและพอเพียง : 2550)  ได้แบ่งประเภทของนวัตกรรมออกเป็นดังนี้
  1. นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์
  2. นวัตกรรมด้านกระบวนการ
  3. นวัตกรรมด้านการบริการ
  4. นวัตกรรมด้านการตลาด
  5. นวัตกรรมด้านการเงิน
  6. นวัตกรรมด้านภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม
  7. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ และการปกครอง
  8. นวัตกรรมด้านความศรัทธา ความคิด และความเชื่อ
        Ralph  Kate (การบริหารจัดการนวัตกรรม : 2550)  ได้แบ่งประเภทของนวัตกรรมไว้ดังนี้
           1.นวัตกรรมส่วนเพิ่มและนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยสิ้นเชิง
           2.นวัตกรรมในกระบวนการ
           3.นวัตกรรมในบริการ
        ประเภทของนวัตกรรมที่กล่าวมา  ในทัศนของผู้เขียนคิดว่าประเภทของนวัตกรรมน่าจะแบ่งออกเป็น  5  ประเภทดังนี้
          1.นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ  เป็นการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา หรือ เพื่อการพัฒนาองค์กรในการบริหารจัดการที่นำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย
          2.นวัตกรรมด้านการศึกษา ตามศาสตร์สาขาต่างๆ  เป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาในศาสตร์สาขาต่างๆเพื่อให้ผู้เรียน ผู้ศึกษาในระดับต่างๆมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและเร็วขึ้น
          3.นวัตกรรมด้านกระบวนการ เป็นการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้มีกระบวนการในการดำเนินการเรื่องต่างๆให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นและประสบความสำเร็จในการดำเนินการ
         4.นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์  เป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมการผลิตที่สร้างสรรค์  แปลกใหม่  เหมาะกับบุคคลและยุคสมัยสะดวกในการใช้งาน
          5.นวัตกรรมด้านการตลาดและการบริการ  เป็นนวัตกรรมในการนำเสนอการขาย  การจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ  และการให้บริการที่เป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ
         จากประเภทนวัตกรรมที่สรุปเป็นเบื้องต้น  ก็มีหลักการ  แนวคิด  ทฤษฎีที่เป็นหลักคิดหลักการบริหารที่ผู้บริหารสถานศึกษา  นำมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา  ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งในการบริหารสถานศึกษาไปสู่  วิสัยทัศน์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเครื่องมือ  หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี ที่เป็น นวัตกรรม  ในการบริหารดังกล่าว อธิเช่น
         1.การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School  Based  Management)  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เป็นรูปแบบและแนวคิดการบริหารที่ต้องการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง หรือจากเขตพื้นที่การศึกษาไปยังสถานศึกษาโดยตรง  ทำให้สถานศึกษามีอำนาจและความรับผิดชอบในการบริหารตนเองในลักษณะเชิงเบ็ดเสร็จ  มีความคล่องตัวและอิสระมากขึ้นในการตัดสินใจสั่งการเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาในทุกด้านที่เกี่ยวกับภารกิจทั้งในด้านวิชาการและหลักสูตร การเงินและการงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป (อุทัย  บุญประเสริฐ : 2546 อ้างถึงใน เทคนิคการบริหาร สำหรับ นักบริหารการศึกษามืออาชีพ ,วีระยุทธ  ชาตะกาญจน์ :2552)
         2.การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์(Result  Based  Management)ทิพาวดี เมฆสวรรค์( อ้างถึงใน เทคนิคการบริหาร สำหรับ นักบริหารการศึกษามืออาชีพ,วีระยุทธ  ชาตะกาญจน์ :2552)ได้ให้ความหมายของ  การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  ว่าเป็นการบริหารโดยมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์หรือความสัมฤทธิ์ผลเป็นหลัก  ใช้ระบบการประเมินผลงานที่อาศัยตัวชี้วัดเป็นตัวสะท้อนผลงานให้ออกมาเป็นรูปธรรม  เพื่อการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นและแสดงผลงานต่อสาธารณะ
         3.การประกันคุณภาพการศึกษา   คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะของการจัดการศึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตร ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานว่ามีความสอดคล้องกับที่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างดี  ทั้งนี้ต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้มารับบริการ อันได้แก่  นักเรียน และผู้ปกครอง อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองความต้องการของสังคมที่ต้องการผู้สำเร็จการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ (วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ : 2552)
        4.การจัดการความรู้  เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ที่ผสมผสานกัน โดยยากที่จะให้คำจำกัดความที่ชัดเจน แต่อาจสรุปให้เกิดความเข้าใจง่ายๆ คือ การจัดการความรู้จะเป็นกระบวนการที่มีความสลับซับซ้อน ในการที่จะนำความรู้ที่มีอยู่มาสร้าง ขยายผล แบ่งปัน จัดเก็บ และใช้ประโยชน์ (ภารดร  จินดาวงศ์ : 2549)
      จากที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียง  เครื่องมือ  หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี ที่เป็น นวัตกรรม  ในการบริหารส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังคงมีอีกเป็นจำนวนมาก  ทั้งนี้การนำไปใช้ เป็นนวัตกรรมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับปัญหา บริทบทต่างๆของสถานศึกษานั้นๆ  ซึ่ง นวัตกรรม  แนวคิด  หลักการต่างๆที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการ สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือจะต้องเหมาะสมกับสภาพปัญหา  บริบทและความพร้อมของสถานศึกษานั้นๆ
     สถานศึกษาที่จะนำนวัตกรรม มาใช้เพื่อการบริหาร ให้ได้ผลดีมีความจำเป็นที่สถานศึกษานั้นจะต้องมีลักษณะขององค์กรเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมด้วย  ซึ่งนักวิชาการได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรแห่งนวัตกรรม ไว้ดังนี้
     กานต์  ตระกูลฮุน:2551 (อ้างถึงในองค์กรแห่งนวัตกรรม แนวคิดและกระบวนการ ,กีรติ  ยศยิ่งยง :2552)  ได้อธิบายไว้ว่า  องค์กรแห่งนวัตกรรม เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญใน การผลักดันธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน  ทั้งในด้านการคิดพัฒนาสินค้า บริการรูปแบบธุรกิจ กระบวนการทำงาน  และการสร้างบุคลากรในทุกระดับ
    กีรติ   ยศยิ่งยง : 2552  ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ องค์กรแห่งนวัตกรรม ไว้ดังนี้ องค์กรแห่งนวัตกรรม เป็นแนวคิดการบริหารจัดการองค์กรแนวใหม่   ในการปรับเปลี่ยนคุณลักษณะองค์กร หรือปรับเปลี่ยนพฤตติกรรมองค์กร  ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรับเปลี่ยนมาก่อน เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าของบริบทโลกาภิวัตน์ที่มีความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มคุณค่า  พัฒนา ผลิตสินค้าและบริการที่ดีมีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการ และความพึงพอใจของลูกค้า ความอยู่รอด และความสามารถเชิงการแข่งขันขององค์กรในตลาดการค้าโลกเสรี
     จากที่กล่าวมาข้างต้น ในทัศนของผู้เขียน คิดว่า  องค์กรแห่งนวัตกรรม  เป็นองค์กรที่มีความพร้อมของบุคคลและบริบทขององค์กร ที่ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาการเป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศ โดยการใช้นวัตกรรมต่างๆเป็นเครื่องมือในการพัฒนา
     องค์กรจะใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารสถานศึกษาได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย การดำเนินการให้องค์กรพร้อมที่จะเป็น องค์กรแห่งนวัตกรรม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการบริหาร  หากองค์กรไม่มีความพร้อมในการรองรับนวัตกรรมทั้งในด้านบุคลากรและบริบทต่างๆขององค์กร ก็ไม่สามารถนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการบริหารเพื่อนำองค์กรหรือสถานศึกษาไปสู่ความสำเร็จ
   สรุป นวัตกรรมเพื่อการบริหารสถานศึกษา  เป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการซึ่งการนำไปใช้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยและบริบทต่างๆอีกหลายประการ ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากร ทีมงานต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมในการบริหารที่นำมาใช้ สามารถปฏิบัติได้  ถ่ายทอดเป็น และองค์กรหรือสถานศึกษาต้องมีความพร้อมในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม  ในการรองรับนวัตกรรมเพื่อการบริหารสถานศึกษาต่อไป

การบริหารนวัตกรรม

  ในช่วงปลายปี 1990 มีการปฏิวัติทางด้านการติดต่อสื่อสารของระบบไร้สาย อีกทั้งมีนวัตกรรมต่างๆ จำนวนมากที่ประสบความสำเร็จ แต่จากประสบการณ์อย่างหนึ่งที่บริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ต้องให้ความสนใจคือ  ประสบการณ์ด้านนวัตกรรมของบริษัทโมโตโลร่า ซึ่งพยายามที่จะผลักดันให้มีการติดต่อสื่อสารได้จากทุกๆ แห่งบนโลก ไม่ว่าจะเป็นทะเลทรายซาฮาร่า หรือยอดเขาเอเวอร์เลส ด้วยระบบเครือข่ายดาวเทียม Iridium

                การที่จะสามารถทำอย่างนั้นได้จะต้องใช้เงินจำนวน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และติดตั้งดาวเทียมจำนวน 88 ดวงรอบโลก และแม้ว่าจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วสำหรับผู้ร่วมทุนว่าต้นทุนของ Iridium สูงมาก แต่ท้ายที่สุดก็ได้รับเงินลงทุนในการวางโครงข่ายดังกล่าว  แต่นั่นเองที่เป็นปัญหา เพราะสิ่งใหม่ๆ ก็มักจะลดคุณค่าไปตามเวลา เพราะแท้ที่จริงคนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการใช้โทรศัพท์จากเกาะที่อยู่ไกลๆ  หรือจากขั้วโลกเหนือ ที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือ  ชุดอุปกรณ์  Iridium ต่างๆ ก็มีขนาดใหญ่เทอะทะ  เนื่องมาจากความซับซ้อนของอุปกรณ์ไร้สาย  และอีกทั้งต้นทุนที่สูงมากถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ  ทำให้ค่าบริการในการโทรสูงตามไปด้วย



                สุดท้ายก็สามารถสรุปได้ว่าโครงการนี้ประสบความล้มเหลวเชิงพานิชย์อย่างสิ้น เชิงเพราะในปี  1999  บริษัทก็ประสบกับภาวะล้มละลาย แต่ก็ยังไม่จบเนื่องจากบริษัทยังต้องมีต้นทุนในการบำรุงรักษาดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกอีกเดือนละ 2 ล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐฯ โมโตโรล่าผู้รับผิดชอบได้เล็งเห็นว่า มีบริษัทโทรคมนาคมอื่นๆ  อาจจะใช้ประโยชน์ได้กับดาวเทียมเหล่านี้ ซึ่งก็ไม่ได้แสดงตนออกมาอย่างชัดเจน    โมโตโรล่าจึงมองไปที่การลงทุน  50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ในการนำดาวเทียมออกจากวงโคจรและทำลายทิ้งเพื่อความปลอดภัย   และแผนงานนี้ก็ได้จัดทำขึ้นโดย NASA  ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงมากในการก่อให้เกิดสงครามนิวเคลียร์  โดยเศษเล็กๆ ของซากดาวเทียมได้ตกลงสู่พื้นโลกมากพอที่จะส่งสัญญาณให้รัสเซียต่อสู้เพื่อป้องกันตัวด้วย anti-missile  เนื่องจากมันอาจจะไม่ปรากฎในรูปชิ้นของดาวเทียมแต่จะเป็นในลักษณะของ  Moscow-bound missile                  ดังนั้น คำถามจึงไม่ใช่แต่ว่าเราจะพัฒนานวัตกรรมใดเท่านั้น หากแต่ว่าต้องพิจารณาว่าจะ  “ทำอย่างไร”   ให้ประสบความสำเร็จ บทเรียนต่างๆ ที่ได้จากการค้นคว้าและประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับความสำเร็จและความล้มเหลวต่างๆ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่ออนาคตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคในนวัตกรรมนั้นๆมีอยู่จริงในตลาดหรือไม่ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จ

                ในกระบวนการที่ไม่แน่นอนและความซับซ้อนของนวัตกรรม “ดวง” ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลว แต่อย่างไรก็ตามความสำเร็จที่แท้จริงนั้นจะอยู่ที่ความสามารถในการจัดการกระบวนการต่างๆ ได้อย่างสอดคล้องกัน ซึ่งมีการศึกษาพบว่าการที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ถึงความเข้าใจในการบริหารกระบวนการ เปรียบได้กับการตีกอล์ฟ หากมีการฝึกฝนบ่อยๆ ความชำนาญต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นมากเท่านั้น ตามที่ Gary Player นักกอล์ฟชื่อดังได้กล่าวไว้ว่า “ยิ่งผมซ้อมมาก ผมก็จะยิ่งโชคดี”

ต่อยอดนวัตกรรมฝีมือคนไทย

เปิดตัวนวัตกรรมหลากหลาย

อินเทลเปิดตัวนวัตกรรมหลากหลาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่

May 15, 2007 by: Editor

กรุงเทพฯ, 15 พฤษภาคม 2550 – วันนี้ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่หลายรายการด้วยกัน ซึ่งรวมถึง อินเทล™ คอร์™2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอินเทล™ เซนทริโน™ โปรเซสเซอร์ เทคโนโลยี เจนเนอเรชั่นใหม่ล่าสุดให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก โดยเจาะกลุ่มผู้ใช้ทั้งในกลุ่มองค์กรธุรกิจและบุคคลทั่วไป
นวัตกรรมต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามาในอินเทล เซนทริโน โปรเซสเซอร์ เทคโนโลยี รุ่นล่าสุดนี้ ส่งผลให้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กมีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ สูงขึ้น อาทิเช่น การทำงานของโปรเซสเซอร์และชิปเซ็ตที่รวดเร็วขึ้น การแสดงผลของวิดีโอและกราฟิกที่ยอดเยี่ยม สัญญาณเครือข่ายไร้สายที่แรงและเร็วกว่าเดิม ระบบการบริหารจัดการและการรักษาความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ดังกล่าวยังได้รับการออกแบบให้ใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า
จึงช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานยิ่งขึ้น และยังมีอุปกรณ์เสริมที่ลูกค้าสามารถเลือกใส่เพิ่มเติมได้เพื่อเร่งความเร็วระดับเทอร์โบในการบู้ตเครื่องเพื่อเข้าสู่ระบบและการโหลดแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ได้อย่างทันใจ
ภายในปีนี้ คาดว่าบรรดาผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ รีเซลเลอร์ และร้านประกอบคอมพิวเตอร์ทั่วโลก จะวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ใช้อินเทล เซนทริโน ดูโอ และ อินเทล เซนทริโน โปร โปรเซสเซอร์ เทคโนโลยี รวมแล้วกว่า 230 รุ่นด้วยกัน โดยผู้ผลิตจะเลือกนำคุณสมบัติต่างๆ มาใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กแต่ละรุ่นแตกต่างกันไป
โน้ตบุ๊กแต่ละรุ่นที่วางจำหน่ายจะมีรูปลักษณ์และขนาดต่างๆ มากมายให้ลูกค้าเลือกได้ โดยมีการดีไซน์ที่แตกต่างกันไป นับตั้งแต่รุ่นที่ครบถ้วนและอัดแน่นด้วยฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ หรือแม้แต่รุ่นที่ใช้จอไวด์สกรีนขนาด 17 นิ้วซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานเพื่อความบันเทิง จนถึงรุ่นที่มีขนาดเล็กและประหยัดพลังงานซึ่งมีน้ำหนักเบาไม่ถึง 1.5 กิโลกรัม
โน้ตบุ๊ก - หัวใจสำคัญของธุรกิจ
อินเทล เซนทริโน โปร โปรเซสเซอร์ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่เฉพาะสำหรับผู้ใช้ในกลุ่มธุรกิจ จะประกอบคุณสมบัติต่างๆ ที่ได้รับความนิยมและเคยมีใช้อยู่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เดสก์ท้อปสำหรับองค์กรธุรกิจเท่านั้น โดยใช้อินเทล™ วีโปร™ โปรเซสเซอร์ เทคโนโลยี (Intel® vPro™ processor technology) ซึ่งจะช่วยให้แผนกไอทีสามารถบริหารจัดการระบบคอมพิวเตอร์ทั้งแบบเดสก์ท้อปและโน้ตบุ๊กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรับมือกับปัญหากวนใจได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบการรักษาความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ และการบริหารจัดการทรัพย์สิน โดยทั้งหมดนี้สามารถทำผ่านทางเครือข่ายไร้สายได้อีกด้วย
หนึ่งในนวัตกรรมที่อินเทลนำมาใส่ไว้ใน อินเทล เซนทริโน โปร ได้แก่ Intel® Active Management Technology ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กสำหรับองค์กรธุรกิจมีความสามารถในการบริหารจัดการระบบคอมพิวเตอร์ มีระบบการป้องกัน และสามารถแก้ไขระบบได้อย่างสะดวกด้วยการทำงานแบบรีโมตผ่านเครือข่ายไร้สาย ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิผลให้กับการทำงานลดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบไอที และเพิ่มช่วงเวลาอัพไทม์ให้สูงขึ้น
ทางด้าน มร. รูเบน ตัน ผู้จัดการฝ่ายวิจัย แผนกระบบส่วนบุคคล ของไอดีซี เอเชีย/แปซิฟิก กล่าวว่า “ปัจจุบัน อินเทล เซนทริโน โปร โปรเซสเซอร์ เทคโนโลยี ทำให้เราสามารถนำคุณสมบัติของ อินเทล วีโปร โปรเซสเซอร์ เทคโนโลยี มาเสริมไว้ในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ซึ่งคุณสมบัติที่ประกอบไว้ในเครื่องอย่างเช่น ระบบการบริหารจัดการแบบรีโมต จะช่วยลดช่วงเวลาดาวน์ไทม์และค่าใช้จ่ายของฟอร์มแฟกเตอร์ เนื่องจากธรรมชาติของโน้ตบุ้กที่เป็นอุปกรณ์พกพาและยากต่อการบริหารจัดการนั่นเอง” อินเทลคาดว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจำนวนหลายร้อยรุ่นจะมีพร้อมวางจำหน่ายในตลาดแล้ว ด้วยระดับราคาที่หลากหลาย

นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน

·             E-learning
     ความหมาย    e-Learning  เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ"เช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning ่าหมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง ารเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
           1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
            2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
          ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently Asked Question : FAQ) ในเวป www.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ ้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลค ทรอนิค ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ ์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เนต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี คศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเ ป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business
          เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Technology-based Learning nี่มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เนต อินทราเนต และ เอ็ซทราเนต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป Online Learning ปกติจะ ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks) แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่ ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น
          การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) 
       ห้องเรียนเสมือนจริง
    ความหมาย   การ เรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom ไว้ดังนี้
          . ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom) ว่าหมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให ้ บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้หรือระยะไกล ผ่านทางระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพจในแต่ละส่วนให้ สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540)
          บุญเกื้อ ควรหาเวช ได้กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า (Virtual Classroom) หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน โดยไม่ต้องไปนั่งเรียนในห้อง เรียนจริงๆ ทำให้ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย
(บุญเกื้อ ควรหาเวช. 2543: 195)

          รุจโรจน์ แก้วอุไร กล่าวไว้ว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เป็นการจัดการเรียนการ สอนทางไกลเต็มรูปแบบ โดยมีองค์ประกอบครบ ได้แก่ ตัวผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น เข้าสู่ กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กัน มีสื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่ม หรือตอบโต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้ายกับ chat room) ส่วนผู้สอนสามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการ ประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลัก สูตรได้ ทั้งนี้ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ แต่ผู้เรียนในชั้นและผู้สอนจะต้องนัดเวลาเรียนอย่างพร้อมเพรียง
          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เป็นการเรียน การสอนที่จะต้องมีการนัดเวลา นัดสถานที่ นัดผู้เรียนและผู้สอน เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนมีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอนผู้เรียนไม่ต้องเดินทางแต่เรียกผ่านเครือข่ายตามกำหนดเวลาเพื่อเข้าห้องเรียนและเรียน ได้แม้จะอยู่ที่ใดในโลก
          โดยสรุป กล่าวได้ว่าได้ว่า ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน
ประเภทของห้องเรียนเสมือนจริง
          รศ.ดร.อุทัย ภิรมย์รื่น (อุทัย ภิรมย์รื่น, 2540) ได้จำแนกประเภทการเรียนในห้องเรียนแบบ เสมือนจริงได้ 2 ลักษณะ คือ
          1. จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับบท เรียน โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียนนักศึกษาก็สามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน หรือเพื่อนักศึกษาในชั้นเรียนได้ ห้องเรียนแบบนี้ยังอาศัย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นจริง ซึ่งเรียกว่า Physical Education Environment
          2. การจัดห้องเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพเสมือนจริง เรียกว่า Virtual Reality โดยใช้สื่อที่เป็นตังหนังสือ (Text-Based) หรือภาพกราฟิก (Graphical-Based) ส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนโดยผ่านระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า Virtual Education Environment ซึ่งเป็น Virtual Classroom ที่แท้จริง การจัดการเรียนการสอนทางไกล
ทั้งสองลักษณะนี้

          ในบางมหาวิทยาลัยก็ใช้ร่วมกัน คือมีทั้งแบบที่เป็นห้องเรียนจริง และห้องเรียนเสมือนจริง การเรียนการสอนก็ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก เช่น Internet, WWW. ขณะนี้ได้มีผู้พยายามจัดตั้งมหาวิทยาลัยเสมือนจริงขึ้นแล้ว โดยเชื่อมโยง Site ต่างๆ ที่ให้บริการ ด้านการเรียนการสอนทางไกล แบบ Virtual Classroom ต่างๆ เข้าด้วยกัน และจัดบริเวณอาคาร สถานที่ ห้องเรียน ห้องสมุด ภาควิชาต่างๆ ศูนย์บริการต่างๆ ตลอดจนคณาจารย์ นักศึกษา กิจกรรม ทุกอย่างเสมือนเป็นชุมชนวิชาการจริงๆ แต่ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ของแต่ละแห่ง ผู้ประสงค์จะเข้าร่วมในการเปิดบริการก็จะต้องจองเนื้อที่และเขียนโปรแกรมใส่ข้อมูลเข้าไว้ เมื่อนักศึกษาติดต่อเข้ามา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถ โต้ตอบได้เสมือนหนึ่งเป็นมหาวิทยาลัยจริง ๆ การติดต่อกับมหาวิทยาลัยเสมือนจริงทำได้ดังนี้
          1. บทเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ อาจจะส่งให้ผู้เรียนในรูปวีดีทัศน์ หรือวีดิทัศน์ผสมกับ Virtual Classroom หรือ CD-ROM ที่มีสื่อประสมทั้งภาพ เสียง การเคลื่อนไหว โดยผ่านระบบสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดาวเทียม โทรทัศน์ โทรสาร หรือทางเมล์ ตามความต้องการของ ผู้เรียน
          2. ผู้เรียนจะติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนได้โดยตรง ในขณะสอนก็ได้หากเป็นการเรียนที่ Online ซึ่งจะเป็นแบบของการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) ที่โต้ตอบโดยทันทีทันใดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนหรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Synchronous Interaction) เช่น การ Chat หรืออาจใช้การโต้ตอบแบบไม่ทันทีทันใด (Asynchoronous Interaction) เช่น การใช้ E-mail, การใช้ Web- board เป็นต้น
          3. การทดสอบ ทำได้หลายวิธี เช่น ทดสอบแบบ Online หรือทดสอบโดยผ่านทางโทรสาร ทาง E-mail และทางไปรษณีย์ธรรมดา บางแห่งจะมีผู้จัดสอบโดยผ่านตัวแทนของมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นที่นักศึกษาอาศัยอยู่ การเรียนทางไกลโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนเลือกเรียนวิชาที่ตนสนใจได้ตลอดเวลา ในทุกแห่งที่มีการเปิดสอน ไม่ต้องเข้าชั้นเรียนก็ได้ ในการศึกษาหาความรู้ จึงมีความยืดหยุ่นด้านเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปมาก นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนได้โดยตรง สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เรียนคนอื่นซึ่ง อยู่ห่างไกลกันได้ เป็นการเรียนแบบช่วยเหลือซึ่งกัน และกันทำงานร่วมกัน (Collaborative Learning) อย่างไรก็ตามการเรียน ทางไกลลักษณะนี้อาจจะขาดความสัมพันธ์แบบ face-to-face คือ การเห็นหน้าเห็นตัวกันได้แต่ปัจจุบันนี้ก็มีกล้องวีดิทัศน์ ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ เครือข่าย ก็สามารถทำให้เห็นหน้ากันได้ ดังนั้นปัญหาเรื่อง face-to-face ก็หมดไป ความสำเร็จและ คุณภาพของการเรียนในระบบนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนค่อนข้างมาก เพราะจะต้องมีความรับผิดชอบ ต้องบริหาร เวลาเพื่อติดตามบทเรียน การทำกิจกรรมและการทดสอบต่างๆให้ทันตามกำหนดเวลา จึงจะทำให้การเรียนประสบผล สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ลักษณะการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน
          การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะการสอนทาง ไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เข้าใจระบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนมาก ยิ่งขึ้นขอกล่าวถึง 1. การจัดการศึกษาทางไกล และ 2. การจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนี้
<การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
          การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้เนื่องจากภาระทางหน้าที่การงานหรือทางครอบครัว และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยเพื่อประโยชน์ใน การทำงาน

ความหมายของการศึกษาทางไกล (Distance Education) 
          การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น การศึกษานี้มีทั้งในระดับต้นจนถึงระดับสูงขั้นปริญญา
          การศึกษาทางไกลเป็นการศึกษาวิธีหนึ่งในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ที่ อาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ และสื่อบุคคล รวมทั้งระบบโทรคมนาคมในรูปแบบต่างๆ เป็น หลักการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อเหล่านั้น และอาจมีการสอนเสริม ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนซักถามปัญหาจากผู้สอนหรือผู้สอนเสริม โดยการศึกษานี้อาจจะอยู่ใน รูปแบบของการศึกษาอิสระ การศึกษารายบุคคล หรือรูปแบบของมหาวิทยาลัยเปิดก็ได้ ตัวอย่างการ ศึกษาทางไกลในประเทศไทย ได้แก่

          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งในการจัดการเรียนการ สอนของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นหลัก โดยมี สื่อเสริม คือรายการวิทยุกระจายเสียง และรายการโทรทัศน์บางวิชาอาจ มีเทปคาสเซ็ท วีดิโอเทป หรือสื่อพิเศษอย่างอื่นร่วมด้วย นักศึกษาจะเรียนด้วยตนเอง โดยอาศัยสื่อ เหล่านี้เป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยก็จัดการสอนเสริมเป็นครั้งคราวซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนได้พบกันเพื่อซักถามข้อสงสัยหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติม
< การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในวงการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำ วันของชาวโลกคือ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ ใน โลกเข้าด้วยกัน ภายใต้กฎเกณฑ์การต่อเชื่อม (Protocol) อย่างเดียวกันที่เรียกว่า TCP/IP อินเทอร์ เน็ตเป็นปรากฏการณ์ของคำว่า "โลกาภิวัฒน์" (Globalization) ที่เป็นรูปธรรม โลกทั้งโลกสามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใด ในทางการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็นการเปิดกว้างของ การให้โอกาสในการศึกษาหาความรู้อย่างไม่เคยมีมาก่อน และเป็นการเปิดโอกาสที่ให้เกิดความเท่า เทียมสำหรับทุกคน ที่สามารถจะเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ลองนึกถึงความจริงที่ว่าเด็กไทยที่ อยู่บนดอยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็สามารถหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตได้เท่าเทียมกันกับเด็กอเมริกัน ที่นิวยอร์ค และเท่ากับเด็กญี่ปุ่นที่โตเกียว อินเทอร์เน็ตเป็น
          แหล่งสะสมความรู้หรือที่บางคนเรียกว่า "ขุมทรัพย์ความรู้"เพราะในบรรดาคอมพิวเตอร์ที่ต่อ เชื่อมอยู่กับอินเทอร์เน็ตนั้น ต่างก็มีข้อมูลสะสมไว้มากมาย และวิธีให้บริการบนอินเทอร์เน็ตก็ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย ถ้าเจ้าของข้อมูลยอมเปิดให้เป็นข้อมูลสาธารณะ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมากเป็นข้อมูลที่ไม่มีการกลั่นกรอง ไม่มีการ รับรองความถูกต้อง ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และนำมาใช้เฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาในยุคอินเทอร์เน็ตนั้นคือ การเรียนรู้ที่จะแยกแยะและกลั่นกรองข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาเรียบเรียงและจัดระบบขึ้นเป็นความรู้ ขณะนี้มีงานวิจัยซึ่งพยายามสร้างกระบวนการอัตโนมัติ (โดยใช้คอมพิวเตอร์) ของการค้นหาข้อมูล (จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) และนำมาเรียบเรียงขึ้นเป็นความรู้ตามกฎเกณฑ์ที่ผู้ใช้สามารถระบุได้ ศาสตร์ใหม่แขนงนี้มีชื่อเรียกว่า วิศวกรรมความรู้ (Knowledge Engineering) ซึ่งมีการบริการ World Wide Web (WWW.) เป็นวิธีการให้บริการข้อมูลแบบหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นวิธี การที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้ โดยอาศัยสมรรถนะที่สูงขึ้นมากของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้
WWW . ใช้กฎเกณฑ์การรับส่งข้อมูลแบบ Hypertext Transfer Protocol (http) ซึ่งมีจุดเด่นที่ สำคัญอยู่ 2 ประการคือ
          1. สามารถทำการเชื่อมโยงและเรียกข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาปรากฏได้ โดยวิธีการที่เรีย กว่า Hyperlink
          2. สามารถจัดการข้อมูลได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเสียง และวีดิทีศน์ เป็นต้น

 <การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
    ความหมาย    ได้มีผู้ให้คำนิยามของการเรียนทางไกล (Distance learning) หรือการศึกษาทางไกล (distance education) ไว้หลายท่านด้วยกันดังนี้
          เบิร์ก และฟรีวิน (E.R.Burge and CC Frewin ,1985 : 4515) ได้ให้ความหมายของการ เรียนการสอนทางไกลว่า หมายถึงกิจกรรมการเรียนที่สถาบันการศึกษาได้จัดทำเพื่อให้ผู้เรียนซึ่งไม่ได้เลือกเข้าเรียนหรือไม่สามารถจะเข้าเรียนในชั้นเรียนที่มีการสอนตามปกติได้กิจกรรมการเรียนที่จัด ให้มีนี้จะมีการผสมผสานวิธีการที่สัมพันธ์กับทรัพยากร การกำหนดให้มีระบบการจัดส่งสื่อการสอน และมีการวางแผนการดำเนินการ รูปแบบของทรัพยากรประกอบด้วย เอกสาร สิ่งพิมพ์ โสตทัศนูปกรณ์ สื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้เรียนอาจเลือกใช้สื่อเฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่มได้ ส่วนระบบการจัด ส่งสื่อนั้นก็มีการใช้เทคโนโลยีนานาชนิด สำหรับระบบบริหารก็มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางไกล ขึ้น เพื่อรับผิดชอบจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
          โฮล์มเบิร์ก (Borje Holmber, 1989: 127 อ้างถึงใน ทิพย์เกสร บุญอำไพ. 2540 : 38) ได้ ให้ความหมายของการศึกษาทางไกล ว่าหมายถึงการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้มาเรียนหรือ สอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยใช้ระบบการสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ว่าผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม การเรียนการสอนทางไกลเป็นวิธีการสอนอันเนื่องมาจากการแยกอยู่ห่างกันของผู้เรียนและผู้สอน การปฏิสัมพันธ์ดำเนินการผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือ
อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

          ไกรมส(Grimes) ได้ให้นิยามการศึกษาทางไกลว่า คือ "แนวทางทุก ๆ แนวทางของการเรียนรู้จากหลักสูตรการเรียนการสอนปกติที่เกิดขึ้น แต่ในกระบวนการเรียนรู้นี้ครูผู้สอนและนักเรียนอยู่คนละสถานที่กัน " นอกจากนี้ ไกรมส์ ยังได้อธิบายถึงเรื่อง การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ผ่านสื่อทางไกล โดยเขาได้ให้นิยามที่กระชัย เข้าใจง่ายสำหรับการศึกษาทางไกลสมัยใหม่ไว้ว่าคือ "การนำบทเรียนไปสู่นักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีมากกว่าที่จะใช้เทคโนโลยีนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียน" และไกรมส์ยังได้ถอดความของคีแกน (Keehan) ซี่งได้กำหนดลักษณะเฉพาะของการเรียนการสอนทางไกลไว้ ดังนี้คือ
            1. เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนอยู่ต่างถานที่กัน
           2. สถาบันการศึกษาเป็นผู้กำหนดขอบเขตและวิธีการในการบริหารจัดการ (รวมทั้งการประเมินผลการเรียนของนักเรียน)
           3. ใช้กระบวนการทางสื่อในการนำเสนอเนื้อหาหลักสูตร และเป็นตัวประสานระหว่างครูกับนักเรียน
          4. สามารถติดต่อกันได้ทั้งระหว่างครูกับนักเรียนและหรือสถาบันการศึกษากับนักเรียน

          วิจิตร ศรีสอ้าน (2529 : 5 - 7) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนทางไกลว่าหมายถึง ระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่ สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการทางการศึกษา โดยมุ่งให้ผู้เรียนเรียนได้ ด้วยตนเองอยู่กับบ้าน ไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ การเรียนการสอนทางไกลเป็นการสอนที่ผู้ เรียนและผู้สอนจะอยู่ไกลกัน แต่สามารถมีกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันได้ โดยอาศัยสื่อประสม เป็นสื่อการสอน โดยผู้เรียนผู้สอนมีโอกาสพบหน้ากันอยู่บ้าง ณ ศูนย์บริการ การศึกษาเท่าที่จำเป็น การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสื่อประสมที่ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองในเวลาและสถานที่สะดวก
          สนอง ฉินนานนท์ (2537 : 17 อ้างถึงใน ทิพย์เกสร บุญอำไพ. 2540 : 7) ได้ให้ความหมาย ของการศึกษาทางไกลว่าเป็นกิจกรรมการเรียนสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนตามปกติได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ หรือเหตุผลทางเศรษฐกิจก็ตาม การเรียนการสอนลักษณะ นี้ผู้สอนกับผู้เรียนแยกห่างกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์โดยผ่านสื่อการเรียนการสอน การเรียนโดยใช้สื่อการเรียนทางไกลนั้น ใช้สื่อในลักษณะสื่อประสม (Multimedia) ได้แก่ สื่อเอกสาร สื่อโสตทัศน์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นรายการวิทยุ โทรทัศน์ เทปเสียง วีดิทัศน์ และคอมพิวเตอร์
          วิชัย วงศ์ใหญ( 2527 อ้างถึงในสารานุกรมศึกษาศาสตร์. 2539: 658 ) การสนทางไกล (distance teaching) หมายถึง ระบบของการจัดการศึกษาวิธีหนึ่ง ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนไม่ต้องมาทำ กิจกรรมในห้องเรียน กระบวนการเรียนการสอนจะยืดหยุ่นในเรื่องเวลา สถานที่ โดยคำนึงถึงความ สะดวกและความพร้อมของผู้เรียนเป็นหลัก รูปแบบของการเรียนจะใช้สื่อการเรียนประเภทต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์ สื่อที่ติดต่อทางไปรษณีย์ สื่อทางวิทยุ สื่อทางโทรทัศน์และสื่อโสตทัศน์อุปกรณ์ประเภทอื่น รวมทั้งการพบกลุ่มโดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้หรือการสินเสริม เป็นต้น
          โดยสรุป แล้วการศึกษาทางไกล หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้นโดยที่ผู้เรียนไม่ จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียนปกติ เป็นการเรียนการสอนแบบไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อต่าง ๆ ที่เรียกว่าสื่อ ประสม ได้แก่ เอกสาร สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงสื่อบุคคลช่วยในการจัดการ เรียนการสอน
หลักสำคัญของการศึกษาทางไกล
          จากความหมายและปรัชญาของการเรียนการสอนทางไกลดังได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ ว่ามีลักษณะเฉพาะสำคัญที่แตกต่างไปจากการศึกษาในระบบอื่นหลายประการ ดังที่ วิจิตร ศรีสอ้าน (วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ 2534 : 7 - 8) ได้จำแนกลักษณะสำคัญของการศึกษาทางไกลไว้ดังนี้
          1. ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ห่างจากกัน การเรียนการสอนทางไกล เป็นรูปแบบการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนอยู่ห่างไกลกัน มีโอกาสพบปะหรือได้รับความรู้จากผู้สอนโดยตรงต่อหน้าน้อยกว่าการ ศึกษาตามปกติ การติดต่อระหว่างผู้เรียนและผู้สอนนอกจากจะกระทำโดยผ่านสื่อต่าง ๆ แล้ว การ ติดต่อสื่อสารโดยตรงจะเป็นไปในรูปของการเขียนจดหมายโต้ตอบกัน มากกว่าการพบกันเฉพาะหน้า
          2. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน ในระบบการเรียนการสอนทางไกลผู้เรียนจะมีอิสระใน การเลือกเรียนวิชาและเลือกเวลาเรียนตามที่ตนเห็นสมควร สามารถกำหนดสถานที่เรียนของตนเอง พร้อมทั้งกำหนดวิชาการเรียนและควบคุมการเรียนด้วยตนเอง วิธีการเรียนรู้ก็จะเป็นการเรียนรู้ด้วยตน เอง จากสื่อที่สถาบันการศึกษาจัดบริการรวมทั้งสื่อเสริมในลักษณะอื่น ๆ ที่ผู้เรียนจะหาได้เอง
          3. ใช้สื่อและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการบริหารและบริการ สื่อทางเทคโนโลยีการศึกษา ที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลัก โดยจัดส่งให้ผู้เรียนทางไปรษณีย์ สื่อเสริมจัดไว้ในหลายรูปแบบมีทั้งรายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ เทปเสียงประกอบชุดวิชา และวิดีทัศน์ประกอบชุดวิชา สิ่งใดที่มิได้จัดส่งแก้ผู้เรียนโดยตรง สถาบันการศึกษาจะจัดไว้ตามศูนย์การศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรับฟัง หรือรับชม โดยอาจให้บริการยืมได้ นอกจากสื่อดังกล่าวแล้ว สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางไกลยังมีสื่อเสริมที่สำคัญอีก เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อ คอมพิวเตอร์ และสื่อการสอนทางโทรทัศน์ฯ เป็นต้น
          4. ดำเนินงานและควบคุมคุณภาพในรูปองค์กรคณะบุคคล การศึกษาทางไกลได้รับการยอม รับว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบและวิธีการจัดการศึกษาในประเทศต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เพราะสามารถ จัดการเรียนการสอน ตลอดจนบริการการศึกษาให้แก่ผู้เรียนได้มากกว่าและประหยัดกว่าทั้งนี้เพราะ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสัดส่วนครูต่อนักเรียนอาคารสถานที่ ในส่วนคุณภาพนั้นผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาทุกคนต่างมุ่งหวังให้การศึกษาที่ตนจัดบรรละจุดมุ่งหมาย และมาตรฐานที่รัฐตั้งไว้ การศึกษาทางไกลได้มีการสร้างระบบและองค์กรขึ้นรับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตตและผลิตเอกสารการ สอน ตลอดจนสื่อการสอนประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการออกข้อสอบ ลักษณะเช่นนี้ อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาทางไกลมีระบบการควบคุมคุณภาพของการศึกษาอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด ความรับผิดชอบในการจัดการศึกษามิได้อยู่ภายใต้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะแต่เน้นการจัดการศึกษาที่มีการดำเนินงานในรุปองค์กรคณะบุคคล ที่สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
          5. มีการจัดการศึกษาอย่างมีระบบ กระบวนการเรียนการสอนทางไกลได้รับการออกแบบขึ้น อย่างเป็นระบบ เริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรและผลิตเอกสาร ตลอดจนสื่อการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการวัดและประเมินผล มีการดำเนินงานและผลิตผลงานที่เป็น ระบบ มีการควบคุมมาตรฐานและคุณค่าอย่างแน่นอนชัดเจน จากนั้นจะส่งต่อไปให้ผู้เรียน ส่วนการ ติดต่อที่มาจากผู้เรียนนั้น ผู้เรียนจะจัดส่งกิจกรรมมายังสถานศึกษา ซึ่งหน่วยงานในสถานศึกษาจะ จัดส่งกิจกรรมของผู้เรียนไปตามระบบถึงผู้สอน เพื่อให้ผู้สอนตรวจตามมาตรฐานและคุณภาพการ ศึกษาที่ได้กำหนดไว้
          6. มีการใช้สื่อประเภทต่าง ๆ หลากหลาย แทนสื่อบุคคล สื่อที่ใช้แตกต่างกันไปตามเนื้อหา การสอนและการจัดการสอนเป็นการจัดบริการให้แก่ผู้เรียนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ดังนั้นการดำเนินงานในด้านการเตรียมและจัดส่งสื่อการศึกษาจึงต้องจัดทำในรูปของกิจกรรมทางอุตสาหกรรม คือมีการผลิตเป็นจำนวนมาก มีการนำเอาเทคนิคและวิธีการผลิตที่จัดเป็นระบบ และมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนตามระบบอุตสาหกรรม
         7. เน้นด้านการผลิตและจัดส่งสื่อการสอนมากกว่าการทำการสอนโดยตรง บทบาทของ สถาบันการสอนในระบบทางไกลจะแตกต่างจากสถาบันที่สอนในระบบเปิดโดยจะเปลี่ยนจากการสอนเป็นรายบุคคลมากเป็นการสอนคนจำนวนมาก สถาบันจะรับผิดชอบด้านการผลิตและจัดส่ง เอกสารและสื่อการศึกษา การประเมินผลการเรียนของผู้เรียน และการจัดสอนเสริมในศูนย์ภูมิภาค
         8. มีการจัดตั้งหน่วยงานและโครงสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการสอนและการบริการผู้เรียน แม้ผู้เรียนและผุ้สอนจะอยู่แยกห่างจากกันก็ตาม แต่ผู้เรียนก็จะได้รับการสนับสนุนจากผู้สอนในลักษณะ ต่าง ๆ มีการจัดตั้งศูนย์การศึกษาประจำท้องถิ่นหรือประจำภาคขึ้นเพื่อสนับสนุนให้บริการการศึกษา
         9. ใช้การสื่อสารติดต่อแบบสองทางในการจัดการศึกษาทางไกล แม้การจัดการสอนจะเป็น ไปโดยใช้สื่อการสอนประเภทต่าง ๆ แทนการสอนด้วยครูโดยตรง แต่การติดต่อระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนก็เป็นไปในรูปการติดต่อสองทาง ซึ่งสถาบันการศึกษาและผู้สอนจะติดต่อกับผู้เรียนโดย จดหมายและโทรศัพท์ ส่วนผู้เรียนก็อาจจะติดต่อกับผู้สอนและสถาบันการศึกษาด้วยวิธีการเดียวกัน นอกจากนี้ทางสถาบันกาารศึกษายังจัดให้มีการติดต่อกับผู้เรียนด้วยการจัดสอนเสริม ซึ่งส่งผู้สอนไปสอนนักศึกษาตามศูนย์บริการการศึกษาประจำจังหวัดตามช่วงเวลาและวิชาที่สถาบันกำหนด
สื่อและวิธีการศึกษาทางไกล
          สื่อนับว่าเป็นหัวใจของการจัดการเรียนการสอนในการศึกษาทางไกล เพราะการถ่ายทอด ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ จากผู้สอนไปยังผู้เรียนนั้น จะอาศัยสื่อประเภทต่าง ๆ ผู้เรียนหรือนักศึกษาจะเรียนด้วยตนเองอยู่ที่บ้านโดยอาศัยสื่อการสอนประเภทต่าง ๆ
          การเลือกหรือจัดสื่อเพื่อใช้ในการศึกษาทางไกลไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดก็ตาม จะต้องคำนึง ถึงหลักจิตวิทยาที่ว่า ถ้าผู้เรียนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์อยู่กับสื่อชนิดเดียวนาน ๆ อาจเกิดความเบื่อหน่วย ได้ และอาจทำให้ผู้เรียนท้อถอยหมดกำลังใจในการเรียนรู้ ดังนั้นสื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่หลากหลาย และเป็นสื่อที่มีการเสริมแรงให้กำลังใจผู้เรียน ซึ่งการใช้สื่อแบบนี้เรียกว่าสื่อประสม คือมีสื่อหนึ่งเป็นสื่อหลักและมีสื่อชนิดอื่นเป็นสื่อเสริม ทั้งนี้เนื่องจากสื่อแต่ละตัวมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด การศึกษา จากสื่อเพียงตัวเดียวจะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ไม่สมบูรณ์จึงควรอาศัยสื่อชนิดอื่นประกอบเพื่อเสริมความรู้สื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลนี้แยกได้เป็น

          1. สื่อหลัก คือสื่อที่ผู้เรียนสามารถใช้ศึกษาได้ด้วยตนเองตลอดเวลาและทุกสถานที่ สื่อหลัก ส่วนมากจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ตำรา เอกสารคำสอน หรือคู่มือเรียน โดยผู้เรียนสามารถใช้สื่อเหล่านี้เป็นหลักในการเรียนวิชานั้น ๆ และมีโอกาสพลาดจากการเรียนได้น้อยมาก เพราะผู้เรียนมีสื่อหลักนี้อยู่กับตัวแล้ว
          2. สื่อเสริม คือ สื่อที่จะช่วยเก็บตก ต่อเติมความรู้ให้แก่ผู้เรียนให้มีความรู้กระจ่างสมบูรณ์ขึ้น หรือหากในกรณีที่ผู้เรียนศึกษาจากสื่อหลักแล้วยังไม่จุใจพอ หรือยังไม่เข้าใจได้ชัดเจนมีปัญหาอยู่ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อเสริมได้ สื่อประเภทนี้จะอยู่ในรูปแบบของเทปสรุปบทเรียน วิทยุ เอกสารเสริม การสอนเสริมหรือการพบกลุ่ม เป็นต้น ในส่วนของวิธีการเรียนการสอนทางไกลนั้นนอก จากผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองจากสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้งสื่อหลักและสื่อเสริมแล้ว สถาบันการศึกษา ทางไกลในปัจจุบันจำนวนมากได้ใช้สื่อวิธีการต่าง ๆ เป็นสื่อเสริมอีกด้วย เช่น กระบวนการกลุ่ม การ สาธิต การทดลอง สถานการณ์จำลอง การศึกษารายกรณี ฯลฯ โดยผู้สอนอาจกำหนดให้นักสึกษา ทำกิจกรรมต่อเนื่องหลังจากที่ศึกษาเนื้อหาจากสื่หลัก แล้วอาจให้ไปสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ให้ไปฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ โดยให้นักศึกษารับผิดชอบไปทำกิจกรรมเหล่านั้นเองแล้วส่ง ผลการทำกิจกรรมมาให้อาจารย์ผู้สอนตรวจ หรือจัดให้มีการประชุมปฏิบัติการระยะสั้น มีการอภิปรายกลุ่ม โดยการนัดหมาย ณ ศูนย์วิทยบริการในท้องถิ่นด้วย