นางสาวบุหงา เสมจิตร์

นางสาวบุหงา   เสมจิตร์
นางสาวบุหงา เสมจิตร์ เลขที่ 18 หมู่ที่ 7 ป.บัณฑิตรุ่นที่ 13

สุขสันต์วันวาเลนไทน์

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การบริหารนวัตกรรม

  ในช่วงปลายปี 1990 มีการปฏิวัติทางด้านการติดต่อสื่อสารของระบบไร้สาย อีกทั้งมีนวัตกรรมต่างๆ จำนวนมากที่ประสบความสำเร็จ แต่จากประสบการณ์อย่างหนึ่งที่บริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ต้องให้ความสนใจคือ  ประสบการณ์ด้านนวัตกรรมของบริษัทโมโตโลร่า ซึ่งพยายามที่จะผลักดันให้มีการติดต่อสื่อสารได้จากทุกๆ แห่งบนโลก ไม่ว่าจะเป็นทะเลทรายซาฮาร่า หรือยอดเขาเอเวอร์เลส ด้วยระบบเครือข่ายดาวเทียม Iridium

                การที่จะสามารถทำอย่างนั้นได้จะต้องใช้เงินจำนวน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และติดตั้งดาวเทียมจำนวน 88 ดวงรอบโลก และแม้ว่าจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วสำหรับผู้ร่วมทุนว่าต้นทุนของ Iridium สูงมาก แต่ท้ายที่สุดก็ได้รับเงินลงทุนในการวางโครงข่ายดังกล่าว  แต่นั่นเองที่เป็นปัญหา เพราะสิ่งใหม่ๆ ก็มักจะลดคุณค่าไปตามเวลา เพราะแท้ที่จริงคนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการใช้โทรศัพท์จากเกาะที่อยู่ไกลๆ  หรือจากขั้วโลกเหนือ ที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือ  ชุดอุปกรณ์  Iridium ต่างๆ ก็มีขนาดใหญ่เทอะทะ  เนื่องมาจากความซับซ้อนของอุปกรณ์ไร้สาย  และอีกทั้งต้นทุนที่สูงมากถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ  ทำให้ค่าบริการในการโทรสูงตามไปด้วย



                สุดท้ายก็สามารถสรุปได้ว่าโครงการนี้ประสบความล้มเหลวเชิงพานิชย์อย่างสิ้น เชิงเพราะในปี  1999  บริษัทก็ประสบกับภาวะล้มละลาย แต่ก็ยังไม่จบเนื่องจากบริษัทยังต้องมีต้นทุนในการบำรุงรักษาดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกอีกเดือนละ 2 ล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐฯ โมโตโรล่าผู้รับผิดชอบได้เล็งเห็นว่า มีบริษัทโทรคมนาคมอื่นๆ  อาจจะใช้ประโยชน์ได้กับดาวเทียมเหล่านี้ ซึ่งก็ไม่ได้แสดงตนออกมาอย่างชัดเจน    โมโตโรล่าจึงมองไปที่การลงทุน  50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ในการนำดาวเทียมออกจากวงโคจรและทำลายทิ้งเพื่อความปลอดภัย   และแผนงานนี้ก็ได้จัดทำขึ้นโดย NASA  ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงมากในการก่อให้เกิดสงครามนิวเคลียร์  โดยเศษเล็กๆ ของซากดาวเทียมได้ตกลงสู่พื้นโลกมากพอที่จะส่งสัญญาณให้รัสเซียต่อสู้เพื่อป้องกันตัวด้วย anti-missile  เนื่องจากมันอาจจะไม่ปรากฎในรูปชิ้นของดาวเทียมแต่จะเป็นในลักษณะของ  Moscow-bound missile                  ดังนั้น คำถามจึงไม่ใช่แต่ว่าเราจะพัฒนานวัตกรรมใดเท่านั้น หากแต่ว่าต้องพิจารณาว่าจะ  “ทำอย่างไร”   ให้ประสบความสำเร็จ บทเรียนต่างๆ ที่ได้จากการค้นคว้าและประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับความสำเร็จและความล้มเหลวต่างๆ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่ออนาคตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคในนวัตกรรมนั้นๆมีอยู่จริงในตลาดหรือไม่ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จ

                ในกระบวนการที่ไม่แน่นอนและความซับซ้อนของนวัตกรรม “ดวง” ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลว แต่อย่างไรก็ตามความสำเร็จที่แท้จริงนั้นจะอยู่ที่ความสามารถในการจัดการกระบวนการต่างๆ ได้อย่างสอดคล้องกัน ซึ่งมีการศึกษาพบว่าการที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ถึงความเข้าใจในการบริหารกระบวนการ เปรียบได้กับการตีกอล์ฟ หากมีการฝึกฝนบ่อยๆ ความชำนาญต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นมากเท่านั้น ตามที่ Gary Player นักกอล์ฟชื่อดังได้กล่าวไว้ว่า “ยิ่งผมซ้อมมาก ผมก็จะยิ่งโชคดี”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น